เพื่อที่จะบริหารร้านค้าให้มั่นคงในธุรกิจค้าปลีกและเพิ่มยอดขาย การใช้การตลาดเป็นสิ่งสำคัญ
อย่างไรก็ตาม หลายๆ ท่านคงจะรู้สึกถึงความแตกต่างของ BtoB (Business to Business) ในแง่ของมุมมองทางการตลาดและรายละเอียดในธุรกิจค้าปลีก แต่ธีการทางการตลาดนั้นมีความหลากหลายจึงจำเป็นต้องนำเทคนิควิธีการที่เหมาะกับธุรกิจค้าปลีกมาใช้อย่างเหมาะสม
ในที่นี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและเทคนิคทางการตลาดที่เป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจค้าปลีก
การตลาดสำหรับธุรกิจค้าปลีกคืออะไร?
การตลาด หมายถึง ชุดกิจกรรมเพื่อสร้างกลไกในการขายสินค้าสามารถดึงเอาผลสำเร็จของการตลาดออกมาให้มากที่สุด โดยเลือกเทคนิคที่เหมาะสมกับธุรกิจแต่ละประเภทจากตัวเลือกต่างๆ
ในโลกธุรกิจ การทำการตลาดนั้นเป็นพื้นฐาน แต่ในวงการธุรกิจค้าปลีกของญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การสั่งซื้อ การขาย และการดำเนินงานร้านค้าดังนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันกลยุทธ์ทางการตลาดไม่ได้ก้าวหน้าเหมือนธุรกิจอื่นๆ
การตลาดส่วนใหญ่ที่ทำในแวดวงค้าปลีกนั้น มีทั้งการดึงดูดลูกค้าด้วยใบปลิว การติดตั้ง POP (Point of Purchase) และการสำรวจร้านค้าคู่แข่งอย่างง่ายๆ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
ผู้ค้าปลีกหลายรายไม่มีแผนกการตลาดเพราะไม่ได้เน้นที่การตลาด แต่บริหารร้านโดยเน้นอาศัยประสบการณ์และสัญชาตญาณของตนเอง
เดิมทีร้านค้าควรเป็นสถานที่ที่สามารถดึงดูดความเป็นเอกลักษณ์ของบริษัทหรือแบรนด์ได้ แต่ถ้าขาดมุมมองในการเข้าถึงผู้บริโภค ความสามารถในการถ่ายทอด “เอกลักษณ์ของร้าน” จะลดลง
เพื่อกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะกับลูกค้า และจบด้วยเลย์เอาต์ที่น่าดึงดูด จำเป็นต้องบริหารจัดการร้านด้วยความคิดด้านการตลาด
ทำการตลาดโดยคำนึงถึง “ส่วนผสมการค้าปลีก”
ในธุรกิจค้าปลีก“ส่วนผสมของการค้าปลีก”ด้วยการดำเนินการตามส่วนผสมของการค้าปลีก สามารถสร้างเอกลักษณ์ของธุรกิจค้าปลีกได้
สำหรับพื้นฐานของการตลาดค้าปลีก ให้ดูส่วนประกอบของส่วนผสมค้าปลีกของคุณ
5 องค์ประกอบของส่วนผสมการค้าปลีกที่ใช้สำหรับการตลาดได้
เราจะอธิบายง่ายๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบ 5 ประการที่ประกอบขึ้นเป็นส่วนผสมของการค้าปลีก
รายการสินค้า | การแบ่งประเภทของระดับคุณภาพ ความกว้าง และความลึก เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากเพราะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ด้วยการเพิ่มความสมบูรณ์และความน่าดึงดูดใจของรายการสินค้า |
ทำเลที่ตั้ง | เข้าถึงได้ทุกวิธีการเดินทาง เช่น ขนส่งสาธารณะ รถยนต์ส่วนตัว การเดิน จักรยาน มีที่จอดจักรยาน ลานจอดรถ ทำเลที่สะดวกมากเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การดึงดูดลูกค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ค้าปลีกหลายรายต้องการเปิดร้านในทำเลที่น่าสนใจ ค่าเช่าและค่าธรรมเนียมผู้เช่าจึงสูงขึ้น |
สิ่งอำนวยความสะดวกในร้านค้า | แผนผังร้าน BGM ลิฟต์ เครื่องปรับอากาศ ห้องน้ำ อุปกรณ์ให้แสงสว่าง ฯลฯ ส่งผลอย่างมากต่อแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้า |
โปรโมชัน ฯลฯ | การส่งเสริมการขาย กิจกรรมของพนักงานขาย การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ โปรโมชัน การคืนสินค้า เครดิต การจัดส่ง ฯลฯ บริการทั่วไปที่จูงใจลูกค้าให้ซื้อโดยขจัดความไม่สะดวกและปัญหาของลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับการช้อปปิ้ง |
ราคา | ราคาขายปลีกแนะนำ ส่วนลด และการลดราคา กลยุทธ์การกำหนดราคามีผลกระทบอย่างมากต่อแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้า |
แนะนำเทคนิคการตลาดที่เป็นประโยชน์ในธุรกิจค้าปลีก
มีวิธีทางการตลาดมากมาย ดังนั้นการเลือกวิธีการที่สามารถใช้ได้ในธุรกิจค้าปลีกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไปนี้จะแนะนำเทคนิคทางการตลาด 3 ประการที่สามารถนำมาใช้ในธุรกิจค้าปลีกได้
การตลาดเชิงพื้นที่ (Area Marketing)
“การตลาดเชิงพื้นที่” เป็นวิธีการแบ่งพื้นที่และทำการตลาดให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ
ในด้านการตลาดเชิงพื้นที่ เราวิเคราะห์โครงสร้างอุปสงค์ และสภาพการณ์การแข่งขันจากไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย อุตสาหกรรมหลัก และโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งคำนึงถึงแนวทางที่เหมาะสมด้วย
การทำการตลาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือการ
ตลาดเชิงพื้นที่
ด้วยการติดตั้งเครื่องมือนี้ จะสามารถเข้าใจตำแหน่งของบริษัทของคุณและสถานการณ์การแข่งขันกับร้านค้าคู่แข่งได้อย่างถูกต้อง ยังสามารถทำการวิเคราะห์ที่แม่นยำสูงได้
การตลาดที่หลากหลาย (Diversity Marketing)
Diversity หมายถึง “ความหลากหลาย” “การตลาดที่หลากหลาย”เป็นวิธีการทางการตลาดที่คำนึงถึงค่านิยมที่หลากหลายของลูกค้า เช่น เพศ อายุ เป็นต้น ทั้งยังจัดหาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับแต่ละค่านิยม
โดยการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณลักษณะของลูกค้า และทำความเข้าใจกับความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ร้านค้าของตนเอง จะแสดงให้เห็นถึงการกระทำที่นำไปสู่การสร้างร้านค้าที่น่าดึงดูดใจให้กับลูกค้า
การส่งข้อความที่ตรงกับคุณลักษณะและค่านิยม เช่น “eco” และ “healthy” แทนข้อความที่ทุกคนจะได้รับส่งผลต่อแรงจูงใจในการซื้อของลูกค้า
การตลาดเชิงสัมพันธ์ (Relationship Marketing)
“การตลาดเชิงสัมพันธ์”เป็นวิธีการทางการตลาดที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาวและนำไปสู่การเพิ่มยอดขายได้
คล้ายกับวิธีการทางการตลาดโดยใช้เนื้อหา (Content Marketing) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าและกลายเป็นแฟนของร้านและผลิตภัณฑ์ของเรา
ในการทำการตลาดเชิงสัมพันธ์ การส่งจดหมายโดยตรงและใช้ Social Network เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มช่องทางการติดต่อกับลูกค้าการส่งส่วนลดและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ
ด้วยการให้บริการที่ถูกใจลูกค้าของเราอย่างต่อเนื่อง เราสามารถคาดหวังได้ว่าจะเพิ่มยอดขายควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายและดึงดูดลูกค้าด้วยการบอกปากต่อปาก
สรุป: การตลาดจะช่วยยกระดับการบริหารร้านค้าปลีก
ธุรกิจค้าปลีกมีหลากหลาย ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงวิสาหกิจขนาดเล็ก และการบริหารงานส่วนบุคคล และอาจมีร้านค้าหลายแห่งที่ดำเนินการโดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์และสัญชาตญาณ อย่างไรก็ตาม ด้วยการนำการตลาดมาใช้งานจริงจะสามารถสร้างร้านค้าที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้นได้
มาลอง ศึกษาให้ลึกซึ้งถึงความสำคัญของการตลาด ความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทางการตลาดที่สามารถนำไปใช้ในธุรกิจค้าปลีก และนำไปใช้สร้างร้านค้าซึ่งสามารถพัฒนาการบริหารได้