วิธีวางแผนเปิดร้านทำอย่างไร? เราจะมาอธิบายองค์ประกอบสำคัญและเทคนิคเชิงกลยุทธ์!

การวิเคราะห์ที่ตั้งร้านค้า
This article can be read in about 13 minutes.

กลยุทธ์ที่เรียกว่า “แผนการเปิดร้าน” ซึ่งขาดไม่ได้เลยในการเปิดร้านใหม่ หากคุณกำลังเปิดร้านอยู่ คงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว แต่เมื่อต้องวางแผนเปิดร้านจริงๆ ก็มีคนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี

ในบทความนี้ จะอธิบายถึงปัจจัยและกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการวางแผนเปิดร้าน และประเด็นสำหรับการวางแผนการเปิดร้านที่มีอัตราความสำเร็จสูง

แผนการเปิดร้านคืออะไร? 3 องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการขยายร้าน

“แผนการเปิดร้าน” หมายถึงแผนการ/กลยุทธ์ที่รวบรวมและสรุปแนวคิด ทิศทางแนวโน้ม และเป้าหมายการขายของร้านที่เพิ่งเปิดใหม่

หากไม่มีแผนเปิดร้านก็จะไม่มีความชัดเจนว่า ควรตั้งเป้าไว้อย่างไรในการเปิดร้าน และจะไม่สามารถกำหนดหัวใจของกลยุทธ์การบริหาร
แผนการเปิดร้านเมีความสำคัญ ซึ่งสามารถเรียกว่าเป็น “พิมพ์เขียวสำหรับการเปิดร้าน” เลยก็ว่าได้
โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการในการสร้างแผนการเปิดร้าน เรามาทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในแต่ละปัจจัยที่สนับสนุนหัวใจของการวางแผนการเปิดร้าน และทำให้ประสบความสำเร็จในการขยายร้าน

องค์ประกอบของแผนการเปิดร้าน (1): นโยบายของร้านและลักษณะธุรกิจ

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการวางแผนเปิดร้าน คือ class=”marker-under bold”>”นโยบายของร้านและลักษณะธุรกิจ” รวมถึงประเภทธุรกิจของร้านค้า รูปแบบการให้บริการ และวิธีการขาย
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ต้องทำให้ชัดเจนว่า“จะขายอะไรในร้านและจะขายอย่างไร”
การบริหารร้านค้าจะดำเนินการตามนโยบายที่ตั้งไว้ หากนโยบายมีความขัดแย้งกัน เมื่อตกอยู่ในสภาพนั้นก็จำเป็นต้องแก้ไขแผนที่วางไว้แล้วครั้งใหญ่ เช่น แก้ไขวิธีการจัดการร้านจากแผนในระยะแรก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผลประกอบการชะลอตัวลง

เมื่อกำหนดแผนการเปิดร้าน และตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายร้านและลักษณะธุรกิจแล้ว ให้ทำความเข้าใจทิศทางและความต้องการของแบรนด์ตนเอง และตรวจสอบให้แน่ชัดถึงวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

องค์ประกอบของแผนการเปิดร้าน (2): แนวคิด

แนวคิดหรือคอนเซ็ปต์ของร้าน ยังเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในการวางแผนการเปิดร้านอีกด้วย

แนวคิดของร้านเป็นพื้นฐานของการจัดการร้าน ซึ่งจำเป็นต่อการกำหนดภาพลักษณ์และธีมของร้านค้าเราจะกำหนดทิศทางในระหว่างทบทวนภาพลักษณ์ของร้าน เช่น กลุ่มเป้าหมายแบบใดที่เราจะทำธุรกิจด้วย รวมถึงจะนำการตกแต่งภายในและการส่งเสริมการขายแบบใดมาใช้

มากำหนดแผนการเปิดร้านกัน เพื่อไม่ให้เนื้อหาสวนทางกัน ตรวจสอบนโยบายที่กำหนดไว้ข้างต้น
เนื่องจากแนวคิดนี้จะเป็นแกนหลักในการบริหารจัดการในอนาคต การเพิ่มวลีฮิตติดปากที่เข้าใจง่ายสำหรับพนักงานทุกคนจึงมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตที่อิงตามชุมชนและหมายมั่นที่จะเป็นร้านที่ราคาต่ำสุดในพื้นที่ให้แชร์กับพนักงานทุกคน และชูสโลแกนที่ว่า “ไล่ตาม EDLP (Everyday Low Price หมายถึง ราคาถูกทุกวัน) และสร้างร้านที่เป็นที่รักของชุมชน” การทำให้แนวคิดดังกล่าวแข็งแกร่งขึ้น จะทำให้ตรวจสอบได้ว่า ร้านของเรากำลังมุ่งไปในทิศทางนั้นหรือไม่ สามารถตั้งเป้าหมาย เช่น KPI และ KGI และตัดสินใจตามแนวคิดนี้ได้ แม้ในการตัดสินใจที่สำคัญอาจทำให้ตัดสินใจไม่ถูกก็ตาม
ด้วยวิธีนี้ หากพนักงานเข้าใจแนวคิดของร้าน ทุกคนก็จะสามารถดำเนินการบริหารร้านไปในทิศทางเดียวกันได้

องค์ประกอบของแผนการเปิดร้าน (3): สถานะบริษัท

การทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแผนการเปิดร้านที่สามารถเป็นจริงได้

มาวิเคราะห์ตำแหน่งของร้านตนเองในตลาดและสภาพธุรกิจในปัจจุบันอีกครั้ง และคำนวณว่าสามารถใช้ทรัพยากรการจัดการกับร้านค้าใหม่ได้มากเพียงใด
นอกจากนี้ ต้องวิเคราะห์การเติบโตของร้านคู่แข่งและจำนวนลูกค้าที่คาดการณ์ ลองมองดูจากสถานการณ์ปัจจุบันและคาดคะเนยอดขายที่ถูกต้องว่า จะสามารถคาดหวังยอดขายจากร้านค้าที่เปิดใหม่ได้เพียงใด รายละเอียดการคาดการณ์ที่ได้วิเคราะห์ไปแล้ว จะนำไปใช้กับเป้าหมายการขายที่กำหนดไว้ในแผนการบริหาร

ประเด็นสำคัญสำหรับแผนการเปิดร้านที่ประสบความสำเร็จ


แผนการเปิดร้านนั้น ไม่ใช่แค่เข้าใจเฉพาะบางองค์ประกอบแล้วสร้างอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า แต่เดิมแผนการเปิดร้านคือเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของร้านที่เพิ่งเปิดใหม่ และมีเพื่อทำให้สำเร็จ
เราควรวางแผนเปิดร้านอย่างไรที่จะทำให้การเปิดร้านใหม่ประสบความสำเร็จได้? เราจะมาอธิบาย 3 ประเด็นที่จำเป็นในการวางแผนการเปิดร้าน

คาดการณ์ยอดขายในสถานที่ที่กำหนดเปิดกิจการ

หลังจากเปิดร้านแล้ว ต้องเพิ่มยอดขายและทำให้การบริหารมีเสถียรภาพ
เพื่อเพิ่มยอดขาย ก่อนอื่นจำเป็นต้องคาดการณ์ยอดขายในทำเลที่วางแผนเปิดร้านไว้

การประมาณยอดขายหลังเปิดร้าน และทำให้ “ค่าเป้าหมายการขายสำหรับร้านค้าใหม่” ถูกต้องชัดเจน จะสามารถกำหนดแผนการบริหารและแผนการส่งเสริมการขายให้ไปสู่ค่าเป้าหมายนั้นได้
นอกจากนี้ เนื่องจากร้านค้าก่อนเปิดร้านไม่มีข้อมูลที่ผ่านมา จึงจะใช้วิธีการวิเคราะห์ เช่น “วิธีอัตราการหมุนเวียน” “แบบจำลองของฮัฟฟ์” “การวิเคราะห์ร้านค้าที่คล้ายกัน” และ “วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ” เมื่อทำการคาดการณ์ยอดขาย

ตั้งเป้าหมายชัดเจน

เมื่อคาดการณ์ยอดขาย และตัดสินใจที่จะเปิดร้านในทำเลที่วางแผนไว้แล้ว จากนั้นให้กำหนดเป้าหมายของร้าน การกำหนดเป้าหมายไม่ใช่แค่ยอดขาย แต่ยังรวมถึง “ช่วงเวลาที่ควรเปิดร้าน” ด้วย การตั้งเป้าหมายทำให้สามารถสร้างกำหนดการแบบนับถอยหลัง และกำหนดแผนการเปิดร้านได้ละเอียดยิ่งขึ้น
ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับร้านค้าใหม่ ขอแนะนำให้ใช้ “Area Marketing GIS” วิเคราะห์จำนวนครัวเรือนและประชากรที่มีคุณสมบัติเป้าหมายภายในพื้นที่การค้า และลักษณะเฉพาะพื้นที่ในบริเวณบริษัทตนเองหรือพื้นที่การค้าที่มีการแข่งขัน
มีการแนะนำฟังก์ชัน Area Marketing GIS ไว้ในหน้านี้

เช็กเอาท์ Area Marketing GIS

สร้างเอกสารแผนการโดยเน้นว่าจะสื่อสารกับใคร

แผนการเปิดร้านไม่ได้แชร์เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นเอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ถือหุ้น และสถาบันการเงินที่ขอสินเชื่อ เป็นต้น
เนื่องจากประเด็นที่ต้องเน้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปลายทางการส่ง
จึงนำมาปรับใช้ในเอกสารแผนการซึ่งคำนึงว่าผู้อ่านเอกสาร “อยากรู้อะไร” และ “กำลังสนใจอะไร”

ตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินที่ปล่อยเงินกู้เพื่อการลงทุนจะมุ่งเน้นไปที่ส่วนของผลกำไร เช่น ทรัพยากรการจัดการและยอดขายหลังเปิดร้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับแผนการเปิดร้าน อาจสนใจในเรื่องแนวคิดและนโยบายการทำให้ชัดเจนว่า ใครต้องการฟังอะไรและจบด้วยเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ก็เป็นกุญแจสู่แผนการเปิดร้านที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

นอกจากเนื้อหาแล้ว การออกแบบยังเป็นจุดสำคัญเช่นกัน ไม่ได้หมายถึง “เอกสารแผนการเปิดร้าน / เอกสารแผนธุรกิจเท่ๆ” แต่อาจเป็น“เอกสารแผนการเปิดร้าน / เอกสารแผนธุรกิจที่เข้าใจง่าย”ด้วยการออกแบบของตัวเอกสารที่จัดเรียง เพื่อให้เนื้อหาเข้าใจง่ายและถ่ายทอดเนื้อหาได้ง่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างเอกสาร ไม่เพียงแต่มองจากมุมมองส่วนตัว แต่ยังต้องอธิบายให้บุคคลที่สามทราบก่อนดำเนินการจริง เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหานั้นรวบรัด เข้าใจง่าย และเป็นระเบียบ

การตลาดเชิงพื้นที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการเปิดร้าน


ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงพื้นที่ในการวางแผนเปิดร้าน

การตลาดเชิงพื้นที่ เป็นวิธีการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของตลาดที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ และดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่ หากรวบรวมข้อมูลด้วยการตลาดเชิงพื้นที่เมื่อวางแผนเปิดร้าน จะสามารถระบุลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ความต้องการ กลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ และสร้างแผนด้วยเนื้อหาที่แม่นยำยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติและข้อมูลการประมาณค่าต่างๆ ที่ได้รับจาก GIS การตลาดเชิงพื้นที่ ยังมีประโยชน์ในการตัดสินใจว่าจะเปิดร้านที่ใด ตัวอย่างเช่น สามารถอ้างถึงข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากร ข้อมูลสถิติเชิงพาณิชย์ ข้อมูลสถิติการเชื่อมโยง ฯลฯ ได้ในคราวเดียว ดังนั้นนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในขั้นตอนการเลือกพื้นที่กันเถอะ

สรุป: จัดทำแผนเปิดร้านที่ถูกต้อง และก้าวสู่เส้นทางใหม่ให้ประสบความสำเร็จสำหรับแบรนด์ของคุณ


หากสร้างแผนการเปิดร้านโดยอิงจากข้อมูลต่างๆ ได้ ระดับการเติบโตและยอดขายของร้านจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก

หากจำนวนร้านค้าในแบรนด์ของคุณเพิ่มขึ้น ระดับการรับรู้ของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นด้วย และจะสามารถชนะในตลาด ในฐานะร้านที่ลูกค้ารักและมีความใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม แผนการเปิดร้านก็เหมือนที่ยึดเท้าเวลาปีนเขา เพื่อการก้าวสู่เส้นทางใหม่ให้ประสบความสำเร็จ อันดับแรกเลือกพื้นที่ที่มีอัตราความสำเร็จในการเปิดร้านสูงด้วยการตลาดเชิงพื้นที่ กำหนดนโยบายและแนวคิดที่ตรงกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ และกำหนด “แผนการเปิดร้านในอนาคต”

Copied title and URL