ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการเปิดร้านตามมาตรฐาน 3 รูปแบบ! มาเริ่มใช้กลยุทธ์ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการเปิดร้านของคุณกันเถอะ!

การวิเคราะห์ที่ตั้งร้านค้า

เมื่อเปิดร้านค้าที่มีหน้าร้าน ขั้นตอนแรก คือ วางแผน หาที่ตั้งทำเลหรืออาคารสถานที่สำหรับเปิดร้านและต้องพิจารณาดูว่าอาคารนั้นตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสำหรับสำหรับการเปิดร้านค้ารูปแบบใด

คุณสมบัติของร้านค้าจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบของพื้นที่หรือลักษณะที่ตั้งของร้าน และเงื่อนไขการเปิดร้านของคุณ
การเปิดร้านทุกรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นควรพิจารณาถึง รูปแบบที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจและแนวคิดของร้านค้าคุณให้มากที่สุด
ครั้งนี้เราจะมาอธิบาย ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการเปิดร้านแบบมาตรฐาน รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการเปิดร้านใหม่ที่ดึงดูดความสนใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น “ร้านค้าแบบป๊อปอัป (pop-up stores) หรือการเปิดร้านแบบชั่วคราว” และ ร้านค้าที่ขายสินค้า”แบบหลากหลาย” (multi-type stores)

รูปแบบที่ ① การตั้งร้านในอาคาร

“การตั้งร้านในอาคาร” หมายถึงการเปิดร้านประเภทหนึ่งโดยให้ร้านตั้งอยู่ในห้องหรือพื้นที่ของอาคารให้เช่า
อาคารเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองและมีหลายประเภท รวมถึงอาคารเบ็ดเตล็ดในย่านใจกลางเมือง อาคารของสถานีต่างๆและอาคารสำนักงาน ส่วนใหญ่ หมายถึง มีลักษณะสองชั้นหรือมีความสูงกว่าตึกทั่วไป รูปแบบร้านที่เปิดในอาคาร
จะเหมาะกับอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และร้านเสื้อผ้า ไม่เพียงแต่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่จำหน่ายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเหมาะสำหรับธุรกิจประเภทให้บริการอื่นๆ ด้วย เช่น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ และที่ตั้งสำนักงานของบริษัทรักษาความปลอดภัย

ข้อดีของรูปแบบ การตั้งร้านในอาคาร

ข้อดีของรูปแบบ การตั้งร้านในอาคาร (Building-in) คือ สามารถจำกัดกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงได้ง่ายและมีการลงทุนเริ่มต้นต่ำเนื่องจากร้านค้ารวมตัวกันอยู่ในอาคารเดียว จึงง่ายสำหรับการวิจัยและวิเคราะห์สถานการณ์ของร้านค้าในอาคารและอาคารใกล้เคียงตลอดจนลักษณะเฉพาะของสังคมท้องที่นั้นๆและข้อมูลประชากร ทำให้ง่ายต่อการวางแผนการเปิดร้าน
ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การลงทุนเริ่มต้นนั้นต่ำ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องลงทุนและออกแบบตกแต่งภายในหรือป้ายมากมายนัก ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง การจัดการร้านค้าในอาคารนั้นเน้นวิธีดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุดผ่านการทำการตลาดโดยวิเคราะห์พื้นที่ทางธุรกิจให้เหมาะสมอย่างละเอียด

ข้อเสียของการตั้งร้านในอาคาร

ข้อเสียของการตั้งร้านในอาคาร (Building-in) คือ ค่าเช่าสูง
ค่าเช่าสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือหน้าสถานีรถไฟมักจะสูงกว่าอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ต้องลงทุนจ่ายค่าเช่าจนกว่าธุรกิจของคุณจะมียอดขายดีขึ้น
ค่าเช่าที่มีราคาสูงนี้จึงเป็นปัญหาทางธุรกิจเปรียบเสมือนรูปคอขวด
วิธีหนึ่งในการลดค่าเช่า คือ การซื้ออาคารในแถบชานเมือง ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของร้านค้าที่อยู่ภายในอาคารคือ เป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างของร้านค้าอื่น ๆ ออกจากกันเนื่องจากลักษณะของป้ายที่เป็นแบบดั้งเดิม

ข้อเสียอีกประการหนึ่งของรูปแบบของร้านที่อยู่ในอาคาร คือดึงดูดลูกค้าได้ยากเนื่องจากทัศนวิสัยหรือการมองเห็นนั้นต่ำ หากเปิดร้านในอาคารที่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองหรือมีผู้คนสัญจรผ่านน้อยก็จะดึงดูดลูกค้าได้ยากยิ่งขึ้น

รูปแบบที่ ② ผู้เช่า


ผู้เช่า หมายถึง การเปิดร้านค้าประเภทหนึ่งโดยเช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าจากผู้ดูแลอาคารหรือเจ้าของอาคาร

โดยปกติผู้เช่าจะถูกกั้นร้านด้วยฉากกั้นธรรมดาหรือผนังภายใน ตามการออกแบบของแต่ละร้าน หรือรูปแบบที่ไม่ได้กั้นพื้นที่ระหว่างผู้เช่า เป็นการเปิดทั้งชั้นเพื่อให้สะดวกในการเข้าถึงได้ง่าย เช่น แผนกเครื่องสำอางของห้างสรรพสินค้าหรือพื้นที่ห้างสรรพสินค้า

ข้อดี ของผู้เช่า

ข้อดี คือ สามารถดึงดูดลูกค้าได้ง่ายโดยใช้เวลาไม่มากนัก
มีการดึงดูดลูกค้าด้วยการส่งเสริมการขายมากมายที่จัดขึ้นบ่อยครั้งทั่วทั้งอาคารพาณิชย์ ทำให้ง่ายต่อการดึงดูดผู้คน โดยไม่ต้องลงทุนวางกลยุทธ์ทางการตลาด
นอกจากนี้ ผู้คนจำนวนมากที่มายังสถานอาคารเชิงพาณิชย์มีความตั้งใจในการซื้อค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ตั้งใจมาที่ร้านของคุณ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถกระตุ้นให้พวกเขาสนใจและซื้อสินค้าของคุณได้
นอกจากนี้ คุณสมบัติของพื้นที่เช่าสามารถปรับแต่งได้ง่าย เนื่องจากพื้นที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงง่ายต่อการปรับปรุงและตกแต่งให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้บริการ

ข้อเสียของผู้เช่า

ข้อเสียของรูปแบบผู้เช่าคือมีข้อจำกัดต่างๆ
เช่น เวลาทำการและวันหยุด ถูกต้องกำหนดโดยสถานประกอบการเชิงพาณิชย์ที่เช่า การออกแบบภายในอาจจำเป็นต้องรวมค่าอุปกรณ์ป้องกันภัยฉุกเฉินและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ นอกเหนือจากค่าเช่าแล้ว จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้งานตามค่าคอมมิชชั่นการขาย ปัญหาสำคัญในการเปิดร้านค้าในรูปแบบนี้ก็คือ ยิ่งยอดขายของร้านค้าสูง ค่าบำรุงรักษาก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย

รูปแบบที่ ③ อาคารที่ตั้งริมถนน


รูปแบบร้านค้าริมถนน คือ ร้านค้าประเภทหนึ่งที่เปิดอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคารหันหน้าไปทางถนนฝั่งสถานีสำคัญต่างๆหรือถนนในตัวเมือง

ประเภทของธุรกิจที่เปิดมีตั้งแต่ร้านอาหารและเครื่องดื่มไปจนถึงการขายสินค้าต่างๆ เช่น เครื่องแต่งกาย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและบริษัทชั้นนำมักจะเปิดร้านของตัวเองในพื้นที่รูปแบบนี้กันมาก

ข้อดีของอาคารที่อยู่ริมถนน

ข้อดีของร้านที่เปิดในอาคารริมถนนคือมีทัศนวิสัยในการมองเห็นได้ง่าย
ตั้งอยู่ริมถนนสายหลัก มองเห็นได้ง่าย สะดวกต่อผู้คนที่สัญจรไปมา “การเปิดทำการอย่างรูปแบบนี้เดียวก็ส่งผลต่อการโฆษณาได้”
ร้านที่ตั้งอยู่ติดถนนสามารถดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้านได้โดยตรง ทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไขของตัวเองได้อย่างอิสระและแตกต่างจากคู่แข่งได้ โดยการกำหนดเวลาเปิด-ปิดทำการและวันหยุดของตัวเองได้ มีลักษณะเฉพาะ เช่น การออกแบบภายในและป้ายโฆษณา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับพื้นที่รอบข้าง ทำให้ร้านที่มีลักษณะเด่นทำให้การเปิดร้านมีรูปแบบที่ไม่ซ้ำกับร้านอื่น

ข้อเสียของอาคารที่อยู่ริมถนน

ข้อเสียของร้านค้าที่อยู่ในอาคารริมถนน คือ ค่าเช่าที่สูง และต้องจ่ายเงินประกันสัญญาเช่าพร้อมกับค่าเช่าที่ด้วยซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
แม้ว่ามีร้านเบ็ดเตล็ดที่เปิดอยู่ในอาคารเดียวกันมากมาย แต่ความแตกต่างของค่าเช่าระหว่างร้านค้าที่ตั้งอยู่ในอาคารริมถนนและอาคารที่ไม่ได้ติดถนนบนพื้นที่ชั้นสองหรือสูงกว่านั้นอาจราคาสูงมากกว่าสองเท่า เงินทุนเริ่มต้นสำหรับการประกันค่าเสียหายก็สูงเช่น
กัน

รูปแบบใหม่ของ “ป๊อปอัพสโตร์”

ร้านป๊อปอัปเป็นร้านค้าชั่วคราวมีเวลาขายจำกัด ปรากฏให้เห็น เช่น รถขายสินค้าเคลื่อนที่หรือร้านค้าที่ตั้งตามริมถนน บางบริษัทเคยใช้ป๊อปอัปสโตร์ในอดีต เนื่องจากมีต้นทุนต่ำและมีความสามารถในการส่งเสริมการขายสูง ร้านป๊อปอัปสโตร์ได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่งดเดินทางออกไปข้างนอกบ้านเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หลายบริษัทประสบปัญหาว่ามีจำนวนลูกค้าเข้าชมร้านค้าลดลงจึงเริ่มขยายช่องทางการขายโดยใช้ ป๊อปอัปสโตร์ ช่วยทำการขายร่วมกัน

แล้วร้านป๊อปอัพสโตร์รูปแบบใหม่จะมีประเภทใดบ้าง?

รูปแบบที่ ① ตู้จำหน่ายสินค้าเคลื่อนที่

ตู้จำหน่ายสินค้าเคลื่อนที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการขายโดยขนสินค้าขึ้นรถ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถตู้ หรือยานพาหนะอื่นๆ ที่สัญจรไปรอบเมืองมีทั้งการขายอาหารและเครื่องดื่มและการขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ร้านค้าที่มีหน้าร้านอยู่แล้ว ได้เพิ่มรูปแบบการส่งเสริมธุรกิจโดยการขายออนไลน์เนื่องจากพวกเขาสามารถขายสินค้าที่ตรงกับฤดูกาล เหตุการณ์ และกลุ่มเป้าหมายในเวลาที่เหมาะสมที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อขายอาหารและเครื่องดื่ม จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่กรมอนามัยในพื้นที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและเพื่อความปลอดภัย

รูปแบบที่ ②แผงขายของในตลาด

แผงลอยในตลาดเป็นรูปแบบการขายสินค้าโดยใช้สิ่งอำนวยความสะดวกแบบเรียบง่ายตามถนนที่มีการสัญจรพลุกพล่านหรือในพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม
หากได้รับใบอนุญาตให้เปิดร้านก็สามารถเปิดร้านในรูปแบบเรียบง่าย เช่น ตลาดนัดซึ่งมีข้อดี คือไม่ต้องใช้เงินลงทุนเริ่มต้นมากนัก ยังสามารถใช้รูปแบบร้านค้าป๊อปอัปเพื่อเพิ่มการมองเห็นและดึงดูดลูกค้าด้วยการเปิดร้านค้าในงานตลาดขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำอีกด้วย

รูปแบบที่ ③ เช่าพื้นที่ในร้านอื่น

“การเช่าพื้นที่ในร้านค้าอื่น” หมายความว่า คุณเช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของร้านค้าที่มีอยู่หรือเช่าพื้นที่นอกเวลาทำการเพื่อดำเนินธุรกิจของคุณซึ่งเป็นข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ทำให้ร้านที่เปิดใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากร้านที่มีอยู่แล้วเนื่องจากสามารถดึงดูดลูกค้าที่รู้จักร้านอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องลงทุนส่งเสริมการตลาดมากนัก ในขณะเดียวกันร้านค้าที่มีอยู่เดิมแล้วสามารถคาดหวังว่าจะมีจำนวนลูกค้าใหม่ๆ มาซื้อสินค้าร้านคุณเพิ่มขึ้นจากการที่มีร้านมาเช่าพื้นที่ร้านของคุณ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีอยู่

มีจำนวนรูปแบบของ “ร้านค้าที่ขายสินค้าหลายประเภท” เพิ่มมากขึ้น


ร้านค้าแบบผสมผสาน คือ รูปแบบร้านค้าที่ขายสินค้าหลายประเภทอยู่ภายในร้านเดียว ในเชิงธุรกิจนั้น ธุรกิจร้านค้าแบบผสมผสานเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่ดำเนินการขายสินค้าประเภทต่างๆ ไว้ภายในร้านเดียวกันและกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ

ตัวอย่างเช่น มีร้านค้าแบบผสมผสานที่สามารถใช้เวลาในช่วงที่รอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ร้านขายโทรศัพท์มือถือและร้านกาแฟ/เบเกอรี่ หรือร้านซักรีดและร้านกาแฟ ร้านขายเสื้อผ้าและร้านกาแฟ/เบเกอรี่ ตั้งอยู่ในร้านเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบัน เรายังเห็นว่า มีบริษัทที่ขายหนังสือและขายเสื้อผ้าได้เปิดร้านกาแฟตั้งอยู่ภายในร้านเดียวกัน ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ที่ลูกค้าสามารถดื่มกาแฟไปพร้อมกับอ่านหนังสือและเลือกซื้อเสื้อผ้าภายในร้านได้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีร้านที่ผสมผสานประเภทของธุรกิจที่แตกต่างกันไว้จำนวนมาก เป็นการสร้างร้านแบบผสมผสาน เช่น ร้านสะดวกซื้อและปั๊มน้ำมัน ร้านค้าที่ขายของเล่นเฉพาะทางและร้านขายสินค้าสำหรับเด็ก ร้านกาแฟและร้านล้างรถ ร้านคารโอเกะและร้านโยนโบว์ลิ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจต่างประเภทแต่เจ้าของคือบริษัทเดียวกัน เป็นต้น

ปัจจุบัน รูปแบบการเปิดร้านต่างๆ นั้น กำลังเติบโต และบริษัทต่างๆ กำลังมองหาวิธี “นำเสนอรูปแบบธุรกิจใหม่ให้แก่ลูกค้าและเพิ่มอัตราการซื้อ”ด้วยเหตุนี้ การเปิดร้านค้าแบบผสมผสานที่ไม่เคยมีมาก่อนจึงดึงดูดความสนใจ ร้านค้าแบบผสมผสานจึงเป็นรูปแบบธุรกิจที่สามารถเป็นศูนย์กลางดึงดูดลูกค้าได้ และช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้บริการต่างๆ ของบริษัทคุณได้ง่าย หากสามารถสร้างรูปแบบการเปิดร้านใหม่ด้วยแนวคิดที่ยืดหยุ่นคุณจะสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้

เลือกรูปแบบการเปิดร้านให้เหมาะสมกับสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ พื้นที่นั้น


สถานการณ์ต่างๆ ทางสังคมทำให้พฤติกรรมของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ส่งผลต่อรูปแบบการทำธุรกิจ
ในอนาคตเมื่อเปิดร้านใหม่หรือขยายธุรกิจด้วยการเพิ่มจำนวนสาขา จะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีเปลี่ยนแปลงไปและกำหนดรูปแบบการเปิดร้านให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเสมอว่าผู้บริโภคในพื้นที่ที่คุณเปิดร้านกำลังมองหาอะไร และชอบเข้าร้านค้าประเภทใด และวางแผนบริหารจัดการร้านค้าในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าซึ่งจะทำให้การเปิดร้านของคุณประสบความสำเร็จได้

Copied title and URL