ลูกค้าต้องการอะไรจากร้านค้าที่มีหน้าร้าน? ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ทำให้ลูกค้าผิดหวัง

การวิเคราะห์ที่ตั้งร้านค้า
This article can be read in about 11 minutes.

ในอุตสาหกรรมค้าปลีกมีบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินการแค่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมแต่ใช้เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในการขายสินค้าด้วยมากขึ้นอุปสงค์ของการขายผ่านอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2020 เนื่องจากโควิด-19 แต่แรงผลักดันในการเพิ่มยอดขายจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะยังคงเร่งตัวขึ้นต่อไปตามแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบดิจิทัล (Digitization)
หน้าร้านที่ยอดขายซบเซาและเสี่ยงต่อความอยู่รอดเนื่องจากแรงกระตุ้นดังกล่าวจะถูกแทนที่ด้วยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในอนาคตหรือไม่?

บทความนี้จะอธิบายว่าลูกค้าต้องการอะไรจากร้านค้าที่มีหน้าร้านจริง และร้านค้าต้องทำอย่างไรถึงจะอยู่รอดในตลาดได้

  1. ผลกระทบต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเนื่องจากโควิด-19 และการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซ
  2. ผู้บริโภคคาดหวังอะไรจากร้านค้าที่มีหน้าร้าน?
    1. มุมมองต่อโลกและบรรยากาศของร้านค้าจริง
    2. พบกับสินค้าใหม่
    3. สินค้าและบริการซึ่งหาได้ที่หน้าร้านเท่านั้น
    4. การสื่อสารกับพนักงานและเพื่อน
    5. คำแนะนำและคำอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
  3. ทำอย่างไรเพื่อเพิ่มความพีงพอใจของผู้บริโภค
    1. ยึดแนวคิดที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
    2. ยกระดับความรู้ของพนักงานและการบริการลูกค้า
    3. นำเสนอสินค้าและบริการที่สดใหม่และมีคุณค่า
    4. การจัดการสต็อกสินค้าอย่างละเอียด
  4. สรุป : เพิ่มความพึงพอใจผ่านประสบการณ์จริง

ผลกระทบต่อร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเนื่องจากโควิด-19 และการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซ


ปี 2020 ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนยังเปลี่ยนไปเนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคด้วย เช่น การจำกัดการติดต่อ, การงดออกไปข้างนอก, การแนะนำและขอร้องให้ทำงานจากที่บ้าน

มีหลายกรณีมากขึ้นที่ร้านค้าซึ่งเคยมีแค่หน้าร้านถูกบังคับให้ปิดเพราะยอดขายซบเซา และยังมีอีกหลายกรณีที่กิจการต่างๆ ซึ่งมีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซด้วยถูกบังคับให้ลดขนาดของหน้าร้านลง ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการเปลี่ยนไปสู่การขายแบบอีคอมเมิร์ซจะขยายตัวออกไปอีกตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคต และแนวโน้มไปสู่การประหยัดกำลังคนและไม่ใช้กำลังคนจะเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากผล “การสำรวจ DX ร้านค้าปลีก (ฉบับปี 2021, ประเภทธุรกิจ 6 ประเภท)” จัดทำโดย Dentsu Digital Inc. เปิดเผยว่าผู้บริโภคต้องการการบริโภคที่ร้านค้าที่มีหน้าร้าน ผู้บริโภคราว40% ขึ้นไปที่หลีกเลี่ยงกิจกรรมการบริโภคในร้านค้าจริงอันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนาตอบว่า พวกเขาต้องการซื้อของที่หน้าร้านเมื่อกลับไปเป็นปกติแล้ว
แม้ด้วยผลกระทบของไวรัสโคโรนาและการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซ แต่เราพบว่ายังมีผู้บริโภคที่เห็นคุณค่าของหน้าร้าน แล้วคุณค่าของร้านค้าจริงคืออะไร?

ผู้บริโภคคาดหวังอะไรจากร้านค้าที่มีหน้าร้าน?


งานวิจัยต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่าคุณค่าที่ผู้บริโภคแสวงหาคือ “ประสบการณ์” ซึ่งสามารถทำได้แค่ที่ร้านค้าจริงเท่านั้น จาก “การสำรวจ DX ร้านค้าปลีก ฉบับปีที่ 2021” จัดทำโดย Dentsu Digital Inc. เราเชื่อว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากร้านค้าจริงหลังจากสิ้นสุดโควิดคือ “ความเชื่อมั่น” และ “ความประหลาดใจ” จากการสัมผัสกับของจริง

นอกจากนี้ อ้างอิงจาก “กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม | โครงการวิจัยเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2019 (การวิจัยการตลาดเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิก) รายงานการสร้างกลยุทธ์การเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างประเทศแบบบูรณาการ” เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2020, ประมาณ 70% ของผู้บริโภคกล่าวถึงข้อดีที่สามารถจับต้องและลองสินค้าได้โดยตรง

ดังที่เห็นได้จากการสำรวจนี้ จำนวนผู้บริโภคที่รู้สึกว่าหน้าร้านไม่จำเป็นนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคจำนวนมากแสวงหาประสบการณ์ ความประทับใจ และความประหลาดใจที่สามารถสัมผัสได้โดยการไปที่หน้าร้านเท่านั้น

เรามาอธิบายอย่างง่ายๆ ถึงข้อดีที่ผู้บริโภคที่ไปร้านค้าคาดหวัง ซึ่งไม่มีอยู่ในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

มุมมองต่อโลกและบรรยากาศของร้านค้าจริง

ผู้บริโภคกำลังมองหาโลกทัศน์และ “ประสบการณ์” ในร้านค้าจริงที่ไม่สามารถเข้าใจได้ทางออนไลน์ อิงจากภาพลักษณ์และแนวคิดของผลิตภัณฑ์ที่ร้านค้าต้องการจะสื่อ หากเราทำให้ผู้บริโภคประทับใจด้วยการมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าได้ เราจะได้แฟนคลับที่แข็งแกร่งของร้านและสินค้า

พบกับสินค้าใหม่

หากคุณค้นหาราคาที่ถูกที่สุดบนอินเทอร์เน็ต คุณสามารถซื้ออย่างมีประสิทธิภาพแค่สินค้าที่คุณต้องการ แต่หลายคนต้องเคยมีประสบการณ์ซื้อของที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าว่าจะซื้อที่ร้านค้าจริง เช่น “ซื้อมาโดยไม่คาดคิดมาก่อน”
ตามที่เห็นได้จากการซื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ แม้ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกสินค้าที่ต้องการไปแล้ว แต่พวกเขาไปที่ร้านค้าโดยคาดหวังถึงความประหลาดใจในการพบสินค้าที่ดีหรือราคาถูกท่ามกลางสินค้าต่างๆ และการค้นพบสินค้าใหม่

สินค้าและบริการซึ่งหาได้ที่หน้าร้านเท่านั้น

ร้านค้าออนไลน์นำเสนอสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐานในระดับหนึ่งภายใต้เงื่อนไขที่
“สามารถจัดการได้ทุกที่ทุกเวลา”

สิ่งที่ผู้บริโภคมองหาจากหน้าร้านคือผลิตภัณฑ์และบริการที่จำกัดเฉพาะร้านค้าซึ่งไม่ธรรมดา ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคที่มองหา “ผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสได้แค่หน้าร้านเท่านั้น” เช่น เมนูที่เปลี่ยนไปตามการสั่งซื้อวัตถุดิบในวันนั้น และสินค้าลิมิเต็ดอิดิชั่นที่สามารถซื้อหรือรับประทานได้ที่ร้านเท่านั้น

การสื่อสารกับพนักงานและเพื่อน

หลายคนตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารแบบพบหน้ากันระหว่างวิกฤตโควิด ในช่วงวิกฤตนี้เองบางคนอาจเคยรู้สึกต้องการการมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่น
การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับพนักงานขาย, เพื่อน, และครอบครัวเป็นประสบการณ์ที่มีค่าสำหรับผู้บริโภคซึ่งสามารถหาได้ที่ร้านค้า

การสื่อสารที่ดีระหว่างพนักงานร้านกับผู้บริโภคคาดว่าจะดึงดูดแฟนคลับที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การบริหารร้านค้าที่ทำให้ผู้บริโภคซึ่งเคยมีประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจในการมาที่ร้านกับคนใกล้ชิด “อยากกลับมาใช้งานอีกครั้ง”

คำแนะนำและคำอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

ผู้บริโภคต้องการ “ข้อมูลเฉพาะบุคคล” พวกเขากำลังมองหาคำตอบเฉพาะบุคคลที่ยากจะได้รับทางออนไลน์ เช่น การอธิบายรายละเอียดสินค้าจากพนักงาน คำแนะนำสำหรับสินค้าและบริการที่ตรงกับความชอบของพวกเขา และคำแนะนำในการซื้อสินค้า

ทำอย่างไรเพื่อเพิ่มความพีงพอใจของผู้บริโภค


ร้านค้าแบบดั้งเดิมสามารถทำอะไรเพื่อเพิ่มความพีงพอใจของผู้บริโภคที่มีความต้องการหลากหลายได้บ้าง? เราจะมาอธิบาย 4 ข้อที่สามารถใช้ในการจัดการในอนาคต

ยึดแนวคิดที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

ก่อนอื่นวิเคราะห์ลูกค้าที่ใช้บริษัทของคุณ สร้างร้านค้าจริงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ โดยไม่ทำลายแนวคิดและบรรยากาศที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้ผู้คนมาที่ร้านค้าจริงได้ง่ายขึ้น

ยกระดับความรู้ของพนักงานและการบริการลูกค้า

ผู้บริโภคต้องการข้อมูลของสินค้าและข้อมูลเฉพาะบุคคล มาเพิ่มความรู้เฉพาะด้านของพนักงานโดยจัดการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ, พัฒนาคุณภาพการบริการลูกค้าและใช้ทักษะส่วนบุคคลและบุคลิกภาพที่ดีในการบริการลูกค้า

นำเสนอสินค้าและบริการที่สดใหม่และมีคุณค่า

เพราะมีคำบอกเล่าปากต่อปาก, ข้อมูลสินค้าใหม่, และสินค้าที่จำกัดบางฤดูกาลแค่น้อยนิด หากคุณสามารถดึงจุดแข็งของการขายผ่านเคาน์เตอร์ที่สามารถสัมผัสสินค้าได้ทันทีก็จะนำไปสู่การดึงดูดลูกค้า
เพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจเลือกสินค้าและบริการที่มีคุณค่าซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคตามเทรนด์และฤดูกาล

การจัดการสต็อกสินค้าอย่างละเอียด

หากสินค้าขายหมดตอนที่ลูกค้าต้องการซื้อที่หน้าร้านจะเป็นการเสียโอกาสไป ดังนั้นตุนสินค้าในคลังให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ หากพนักงานร้านค้ารู้สินค้าที่มีอยู่ในร้าน ก็เป็นไปได้ที่จะกำหนดกลยุทธ์การขายที่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์การจัดการสินค้าคงคลังเชิงกลยุทธ์นำไปสู่การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า มากกว่าที่จะมีแค่สินค้าในคลังที่มากขึ้น

สรุป : เพิ่มความพึงพอใจผ่านประสบการณ์จริง

อะเมซอนซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดก็เริ่มเปิดร้านค้าที่มีหน้าร้านเช่นกัน

แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซจะขยายตัวมากขึ้นในอนาคต แต่ “ประสบการณ์” ที่ร้านค้าจริงก็ไม่สามารถทดแทนได้ สิ่งสำคัญคือใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของออนไลน์และออฟไลน์ และพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้าผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ แทนที่จะขายสินค้าด้วยกลยุทธ์แบบเดียวกันบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและหน้าร้าน

Copied title and URL