กรอบความคิดใดบ้างที่สามารถใช้เป็นกลยุทธ์ในการเปิดร้านของคุณได้? เราจะมาแนะนำปัจจัยพื้นฐานในการเปิดร้านให้กับคุณ

Area Marketing
This article can be read in about 13 minutes.

กลยุทธ์การเปิดร้านจะเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายการบริหารและการบริการที่กำลังพัฒนา ยิ่งไปกว่านั้นในการเลือกเปิดร้านยังมีหลายส่วนที่ผันผวนตามจำนวนประชากรของที่ตั้งนั้นๆ จำนวนประชากรในอนาคต กำลังการซื้อ และอื่นๆ
ดังนั้นข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์เมื่อเลือกที่ตั้งร้านจึงมีหลายส่วนที่ไม่ทราบว่า ควรจะตรวจสอบข้อมูลให้กว้างถึงเพียงใด

ในครั้งนี้ ขณะที่อธิบายหลักการสำคัญเมื่อวางแผนกลยุทธ์ในการเปิดร้าน เราจะแนะนำกรอบความคิด 3 ข้อที่สามารถใช้ในการพัฒนาร้านค้า และหลักการ 4 ข้อที่จะเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกพื้นที่เปิดร้านเพื่อใช้ในการอ้างอิง

  1. 2 สิ่งที่ต้องรู้ไว้เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการเปิดร้าน
    1. เปรียบเทียบการเปิดร้านรอบสถานีหลักกับร้านค้าในเขตชานเมือง
    2. ขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อคัดเลือกทำเลที่ตั้ง
  2. 3 กรอบความคิดที่ใช้กับกลยุทธ์การเปิดร้านได้
    1. การวิเคราะห์ 3C
    2. การวิเคราะห์ 4P
    3. การวิเคราะห์ SWOT / การวิเคราะห์ Cross SWOT
  3. 4 ข้อที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกทำเลเปิดร้าน
    1. ข้อที่ 1: ประชากรภายในพื้นที่การค้า
    2. ข้อที่ 2: กำลังซื้อของพื้นที่การค้านั้นๆ
    3. ข้อที่ 3: สภาพการจราจร
    4. ข้อที่ 4: การสำรวจและวิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันและการแข่งขันในอุตสาหกรรมอื่น
  4. สรุป: กรอบความคิดกลยุทธ์การเปิดร้านคืออะไร?

2 สิ่งที่ต้องรู้ไว้เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการเปิดร้าน

หลักการสำคัญในการคัดเลือกที่ตั้งร้าน คือ

  • ทำเลที่สอดคล้องกับนโยบายบริหาร (กลยุทธ์ทางธุรกิจ)
  • กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง (Location Strategy)

ซึ่งต้องตระหนักถึง 2 ข้อนี้ การเปิดร้านในพื้นที่ที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจะทำให้ขายสินค้าหรือบริการกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้ง่ายขึ้น แล้วคุณจะสามารถสร้างกลยุทธ์การเปิดร้านได้

เปรียบเทียบการเปิดร้านรอบสถานีหลักกับร้านค้าในเขตชานเมือง

ตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีร้านค้าใหญ่ๆอยู่รอบสถานีหลัก ได้กำหนดเป้าหมายไปยังลูกค้าที่กำลังมองหาแบรนด์ระดับ High-End ซึ่งเดินทางโดยรถไฟ ดังนั้นจำนวนร้านค้าจึงลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในทางกลับกัน แถบชานเมืองมีหลายกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านสะดวกซื้อและเชนร้านอาหาร เพราะความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญ และสัมพันธ์กับชีวิตของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด จำนวนร้านค้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อพื้นที่การค้าแคบลง

เพื่ออธิบายตามตัวอย่างข้างต้น
หากกำลังกำหนดเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นแบรนด์ชั้นสูงซึ่งสอดคล้องกับนโยบายบริหาร ให้เลือกที่ตั้งบริเวณรอบสถานี 

หากสถานที่นั้นเหมาะสมกับโซนที่อยู่อาศัย ให้เลือกสถานที่จากมุมมองของผู้บริโภคด้วย

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้บริโภคประเภทใดบ้างที่เป็นเป้าหมายและการจะขายสินค้าประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหาร ดังนั้นคุณสามารถสร้างกลยุทธ์การเปิดร้านที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง

ขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อคัดเลือกทำเลที่ตั้ง

กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง มีขั้นตอนการตรวจสอบ 2 ข้อ ข้อแรกสำหรับเมืองเล็ก และอีกข้อสำหรับเมืองใหญ่

ในเมืองเล็ก

  • การเลือกพื้นที่
  • การเลือกจุดที่ตั้ง

การเลือกสถานที่ตั้งในเมืองเล็ก จะเลือกตาม 2 ขั้นตอนนี้

ในเมืองใหญ่ นอกเหนือจาก 2 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังเพิ่ม “การเลือกเขต” ด้วย

  • การเลือกพื้นที่
  • การเลือกเขต
  • การเลือกจุดที่ตั้ง

การเลือกสถานที่ตั้งในเมืองใหญ่ จะเลือกตาม 3 ขั้นตอนนี้

ในการเลือกพื้นที่ นโยบายการบริหารและกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งจะถูกกำหนดไว้แล้ว ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจประชากรในพื้นที่การค้า รายได้ของลูกค้า สภาพการจราจร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขความเหมาะสมของทำเล
ในการเลือกเขต นอกเหนือจากการเลือกพื้นที่ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน  การจัดลำดับของเขตคือสิ่งที่ต้องตรวจสอบ รวมไปถึงทำการประเมินและการคัดเลือกด้วย
ในการเลือกจุดที่ตั้ง ต้องประเมินการเปลี่ยนแปลงของประชากรในพื้นที่การค้าที่จะตั้งร้านค้า รวมถึงลักษณะต่างๆ เช่น พื้นที่และรูปร่างของทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อมโดยรอบ เป็นต้น ตลอดจนประเมินและวิเคราะห์ว่าเหมาะที่จะเป็นที่ตั้งของร้านหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนข้างต้นได้ชี้ให้เห็นข้อจำกัดของที่ตั้งเฉพาะพื้นที่ที่มีการเปิดร้านไปแล้ว ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการแข่งขันภายในองค์กร เช่น เมื่อมีการรวมร้านค้าสาขาสองแห่งเข้าด้วยกัน

3 กรอบความคิดที่ใช้กับกลยุทธ์การเปิดร้านได้


จากนี้ไปเราจะแนะนำ 3 กรอบความคิดที่สามารถใช้สำหรับกลยุทธ์การเปิดร้านของคุณได้

การวิเคราะห์ 3C

กรอบความคิดแรกที่สามารถใช้สำหรับกลยุทธ์การเปิดร้านได้คือการวิเคราะห์ 3C

การวิเคราะห์ 3C เป็นกรอบความคิดที่วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันจากสามส่วน คือ “Company (บริษัท)” “Customer (ลูกค้า)” และ “Competitor (คู่แข่ง)” ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสร้างกลยุทธ์ในการเปิดร้านอีกด้วย

เมื่อพิจารณาว่าลูกค้าและคู่แข่งเป็นสภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนบริษัทของคุณเป็นสภาพแวดล้อมภายใน โดยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและคู่แข่ง จะสามารถเข้าใจปัจจัยความสำเร็จของกลยุทธ์ทางการตลาดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ด้วยการใช้การวิเคราะห์ 3C จะทำให้เปิดร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยทำความเข้าใจสถานการณ์ของบริษัทคู่แข่ง และสภาพแวดล้อมของตลาดก่อนที่จะเลือกที่ตั้งร้านซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจ

การวิเคราะห์ 4P

ต่อไปคือการวิเคราะห์ 4P เป็นกรอบความคิดที่สามารถใช้กับกลยุทธ์การเปิดร้าน
การวิเคราะห์ 4P เป็นกรอบความคิดที่วิเคราะห์จาก 4 ประเด็น ได้แก่ “Product (ผลิตภัณฑ์/ บริการ)”

“Price (ราคา)” “Promotion (โปรโมชัน/ โฆษณา)” และ “Place (ร้านค้า/ การกระจายสินค้า)”

การทำความเข้าใจในปัจจัยความสำเร็จด้วยการวิเคราะห์ 3C และคำนึงถึงการผสมผสานที่ดีที่สุดสำหรับ 4P จะทำให้คุณสร้างความแตกต่างจากบริษัทอื่นๆได้ นอกจากนี้เมื่อพิจารณา 4P สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดก่อนว่าจะขายให้ใคร และคุณอยู่ตำแหน่งใดในตลาดที่จะขาย

การวิเคราะห์ SWOT / การวิเคราะห์ Cross SWOT

กรอบความคิดอื่นที่สามารถใช้ในกลยุทธ์การเปิดร้านคือการวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์ SWOT เป็นวิธีการวิเคราะห์จากปัจจัยภายในของ “S: Strength (จุดแข็ง)” และ “W: Weakness (จุดอ่อน)” และปัจจัยภายนอกของ “O: Opportunity (โอกาส)” และ “T: Threat (อุปสสรค)”

วิธีการเขียนปัจจัย 4 ข้อนี้และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยการไขว้กัน เรียกว่า “การวิเคราะห์  Cross SWOT”

ตัวอย่างเช่น เมื่อ S × O ดึงเอาปัจจัยที่สำคัญของจุดแข็งและโอกาสมาวิเคราะห์สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อเพิ่มจุดแข็ง และใน W × T วิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญของจุดอ่อนและอุปสรรค โดยทำความเข้าใจว่าสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ผ่านสถานการณ์วิกฤติไปได้ซึ่งจะทำให้สามารถคิดมาตรการรับมือล่วงหน้าได้

ปัจจัยภายในนั้นเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เราใช้จุดแข็งของตัวเองและเอาชนะจุดอ่อนด้วยความพยายามของเราเอง ในทางกลับกัน ปัจจัยภายนอกเป็นปัจจัยที่เกิดจากเศรษฐกิจการเมืองและแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการควบคุมจากภายในจึงยากขึ้น

4 ข้อที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกทำเลเปิดร้าน


4 ข้อต่อไปนี้คือเกณฑ์ในการกำหนดทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน

ข้อที่ 1: ประชากรภายในพื้นที่การค้า

เมื่อเลือกทำเลที่ตั้งร้านค้า ต้องคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนมาที่ร้านกี่คน และพิจารณาการเติบโตของตลาดที่คุณกำลังเข้าไปดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ประชากรเพิ่มมากขึ้นและขนาดของตลาดที่ขยายตัว หรือสถานที่ที่ประชากรลดจำนวนลงและหดตัวลง ประชากรภายในพื้นที่การค้าก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดร้าน

ระยะห่างของพื้นที่การค้ามีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรม แต่ด้วยการทำความเข้าใจประชากรในพื้นที่การค้า ประชากรในอนาคต ประชากรตามกลุ่มอายุ องค์ประกอบของครอบครัว ฯลฯ จะสามารถเข้าใจได้ว่าพื้นที่การค้านั้นเหมาะสำหรับบริษัทของคุณหรือไม่

ข้อที่ 2: กำลังซื้อของพื้นที่การค้านั้นๆ

สามารถคาดการณ์ยอดขายได้จำนวนหนึ่งโดยการกำหนดราคาตามรายได้ของลูกค้าและการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ

เพื่อให้เข้าใจถึงกำลังซื้อของพื้นที่การค้า คุณมีตัวเลือกต่างๆ เช่น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจากการสำรวจสำมะโนประชากร วิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในพื้นที่การค้า และข้อมูลการซื้อและรายงานจากบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดเชิงพื้นที่

ข้อที่ 3: สภาพการจราจร

ปัจจัยที่ขัดขวางการเข้าชมร้านค้า นั่นคือการมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่า “อุปสรรคในการเข้าถึงการค้า” ซึ่งจำเป็นต้องไปยังพื้นที่ตั้งจริง และตรวจสอบสถานะ

โดยเฉพาะสิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ การตรวจสอบสภาพการจราจร เช่น ถนนขนาดใหญ่ แนวรถไฟและแม่น้ำ  และวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อดูว่ามีอุปสรรคใดๆที่ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมาที่ร้านได้หรือไม่

ข้อที่ 4: การสำรวจและวิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันและการแข่งขันในอุตสาหกรรมอื่น

การทำความเข้าใจพื้นที่การค้าและยอดขายของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน การตรวจสอบร้านค้าในอุตสาหกรรมอื่นที่อาจแข่งขันกันได้ และการสรุปความต้องการของลูกค้าจะทำให้เห็นกลยุทธ์ที่ร้านค้าของคุณควรนำไปใช้

ในกรณีนี้ อย่าลืมตรวจสอบและวิเคราะห์เงื่อนไขที่สามารถแข่งขันได้ ไม่เพียงบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ยังรวมถึงในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย

สรุป: กรอบความคิดกลยุทธ์การเปิดร้านคืออะไร?


เมื่อเปิดร้านใหม่จำเป็นต้องเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันก่อน ด้วยการวิเคราะห์ 3C / 4P จากนั้นระบุปัจจัยที่สามารถชนะคู่แข่งได้ด้วยการวิเคราะห์ SWOT

นอกจากนี้ หลักเกณฑ์สำคัญคือ “ประชากรในพื้นที่การค้า” “กำลังซื้อในพื้นที่การค้า” “สภาพการจราจร” และ  “การแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันและอุตสาหกรรมอื่นๆ” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อยอดขายหลังการเปิดดำเนินการของร้าน

การเปิดร้านค้าเป็นงานซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยผันผวนหลายอย่างจึงต้องเลือกที่ตั้งร้านที่มีเงื่อนไขที่ดีกว่าโดยอ้างอิงจากสิ่งที่เราได้แนะนำไป

 

Copied title and URL