เราควรทำอย่างไร เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้า? มาศึกษา 3 มาตรการ ที่มีประสิทธิภาพกัน

การส่งเสริมการขาย
This article can be read in about 15 minutes.

เพื่อเพิ่มยอดขายในร้านค้า จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้ามากกว่าการใช้จ่ายเฉลี่ยของลูกค้าหรืออัตราการกลับมาซื้อซ้ำ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจสงสัยว่าจะเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้าได้อย่างไร และควรใช้มาตรการไหน

ในบทความนี้เราจะอธิบายถึง:

  • ไอเดียในการเพิ่มอัตราการการเยี่ยมชมร้านค้า
  • 3 มาตรการ เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้าอย่างมีประสิทธิผล

เพื่อลดต้นทุนและบริหารจัดการให้มีเสถียรภาพ จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้าโดยการนำแนวความคิดสร้างสรรค์มาใช้
หากคุณต้องการทราบหรือมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้า โปรดอ่านบทความนี้

อัตราการเยี่ยมชมร้านค้าเป็นหนึ่งใน KPI ที่สำคัญสำหรับร้านค้าปลีก

“อัตราการเยี่ยมชมร้านค้า” เป็นหนึ่งใน KPI (ตัวชี้วัดผลงานหลัก) ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจผลการดำเนินการของร้านค้าปลีก

*KPI คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการติดตามและประเมินความก้าวหน้าและสถานะความสำเร็จของงานในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

อัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้า แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของคนที่เข้ามาที่ร้านจริงจากผู้คนที่เดินผ่านร้าน

สูตรการคำนวณอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า มีดังนี้

อัตราการเข้าเยี่ยมชมร้าน = จำนวนลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมร้าน ÷ จำนวนคนที่เดินผ่านหน้าร้าน

จำนวนลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าและปริมาณการสัญจรหน้าร้านซึ่งจำเป็นต่อการคำนวณอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้า สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เครื่องนับจำนวนลูกค้า

การใช้ข้อมูลการสัญจรของคนเดินบริเวณพื้นที่เป้าหมาย เช่น การตรวจสอบปริมาณการสัญจรหน้าร้านและวิเคราะห์แหล่งที่มาของผู้คนที่เดินสัญจร ทำให้สามารถวิเคราะห์หาที่ตั้งร้านที่เหมาะสมได้ ก่อนเปิดร้านจริง

3 มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า

เพื่อเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า นอกเหนือจากการจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาเยี่ยมชมร้านค้าด้วย

เราจะอธิบายมาตรการที่มีประสิทธิผล 3 ประการในการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า

  • มาตรการการจัดแคมเปญ
  • มาตรการส่งเสริมการขาย
  • มาตรการการจัดวางสินค้า (VMD: visual merchandising)

มาตรการการจัดแคมเปญ

การจัดแคมเปญ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า โดยการใช้แคมเปญที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าเยี่ยมชมร้านค้า

แคมเปญต่างๆ จะช่วยลดอุปสรรคทางจิตวิทยาที่ขัดขวางไม่ให้ลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมร้านของคุณได้ ส่งผลทำให้มีลูกค้าประจำและลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เข้ามา

[ตัวอย่างแคมเปญ]

  • แคมเปญพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ (ส่วนลดลูกค้าใหม่, จำกัดจำนวนส่วนลดเฉพาะกลุ่ม)
  • แคมเปญจำกัดเวลา/จำนวนจำกัด (ของขวัญสำหรับลูกค้ากลุ่มแรกๆ, การขายผลิตภัณฑ์จำนวนจำกัด)
  • การมีส่วนลดให้ลูกค้าประจำ (การขายสินค้าและบริการในราคาสุดคุ้ม)
  • แคมเปญ Point-up (มอบคะแนนพิเศษให้กับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่กำหนดเฉพาะ)
  • แคมเปญทดลองผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ (การให้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่หรือโอกาสในการลองทดลองบริการใหม่)
  • แคมเปญสำหรับ SNS (ของขวัญที่มอบให้กับผู้ที่โพสต์บน SNS)

ประกาศแคมเปญ โดยโพสต์ผ่านป้ายหรือการตกแต่งภายในร้าน และยังสามารถเสนอคูปองผ่านแอปเฉพาะของร้าน ส่งข้อความถึงลูกค้าที่เป็นสมาชิก เป็นต้น

ไม่เพียงแต่ใช้กับร้านค้าปลีกเท่านั้น แต่สามารถใช้กับร้านอาหารสร้างเมนูขายแบบจำกัดเวลาเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้าได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญอื่นๆ
การมอบของขวัญตอบแทนก็เป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่มีประสิทธิผลเช่นกัน เช่น เครื่องเขียนและของใช้ในครัวเรือน ของขวัญเหล่านี้ จะได้รับความชื่นชอบจากลูกค้าจำนวนมาก

มาตรการส่งเสริมการขาย

หากคุณกำลังดำเนินแคมเปญก่อนวันหยุดหรือช่วงลดราคา การดำเนินการใช้มาตรการส่งเสริมการขายล่วงหน้า จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มอัตราการเข้าเยี่ยมชมร้านค้าได้

[ตัวอย่างมาตรการส่งเสริมการขาย]

  • ประกาศแคมเปญบนโซเชียลมีเดียและส่งจดหมายข่าวทางอีเมล
  • เผยแพร่ข้อมูลแคมเปญผ่านจอแสดงข้อมูลภายในร้าน

มีสื่อ โซเชียลมีเดีย ต่างๆ มากมาย เช่น บัญชีทางการของ LINE, Instagram และ X (เดิมคือ Twitter) ดังนั้น ขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของร้านค้าของคุณ

การส่งเสริมการขายที่ทำให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมารับรู้ข้อมูลแคมเปญขณะเดินผ่านร้านของคุณ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน การโพสต์ข้อมูลแคมเปญไว้บริเวณภายนอกร้านสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนที่เดินผ่านไปมาและกระตุ้นให้พวกเขาอยากเข้ามาเยี่ยมชมร้านของคุณได้

การจัดวางสินค้า (VMD: visual merchandising)

แม้ว่าจะแตกต่างจากสองมาตรการก่อนหน้านี้ แต่ การจัดวางสินค้า (VMD: Visual Merchandising) ก็เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงอัตราการเยี่ยมชมร้านค้าได้เช่นกัน

VMD เป็นคำย่อของ Visual Merchandising หมายถึงกลยุทธ์การขายที่เน้นไปที่การรับรู้ทางการมองเห็น

การโฆษณาบนจอแสดงผล จัดอยู่ในประเภท VMD ซึ่งเป็นวิธีการดึงดูดสายตา โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่จะทำให้ VMD ประสบความสำเร็จ

การนำเสนอผ่านการมองเห็น (VP: visual presentation)

VP หมายถึง การจัดแสดงสินค้าขนาดใหญ่ที่วางขายตามร้านและผลิตภัณฑ์หลักโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านแสดงให้เห็นแนวคิดโดยรวมของร้านและภาพลักษณ์ของแบรนด์เพื่อสร้างบรรยากาศที่ทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาเยี่ยมชมภายในร้าน

การนำเสนอจุดขาย/การนำสินค้า ณ จุดขาย (PP: Point of Sales Presentation/Point Presentation)

PP คือ การนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าที่เข้ามาในร้านมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้หยิบสินค้าขึ้นมาดูจัดวางสินค้าของคุณให้มีลักษณะ “โดดเด่น” ไว้ในแต่ละมุมร้านเพื่อดึงดูดความต้องการซื้อของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

การนำเสนอหมวดหมู่สินค้าที่น่าสนใจ ( IP: Item Presentation)

IP มีจุดประสงค์เพื่อจัดหมวดหมู่และจัดระเบียบผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดลูกค้าในรูปแบบที่ง่ายต่อการมองเห็นและหยิบขึ้นมาดูอย่างสะดวกสบายการผสมผสานองค์ประกอบทั้ง 3 ประการนี้ เข้าด้วยกันจะช่วยให้คุณสามารถดึงดูดลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความน่าสนใจโดยรวมให้กับร้านค้าของคุณได้อีกด้วย

เพื่อเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า ให้ทำการตลาดออนไลน์ด้วย เพื่อเพิ่มการรับรู้และความสนใจของลูกค้า

เราอาศัยอยู่ในยุคที่อินเทอร์เน็ตถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและการค้นหาข้อมูลต่างๆ เช่น การค้นหาร้านค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการประเมินบริการต่างๆ นั้นเป็นเรื่องง่ายหากต้องการเพิ่มการมองเห็นร้านค้าของคุณและเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า คุณต้องใช้วิธี เพื่อดึงดูดลูกค้าโดยการใช้เว็บไซต์

ราจะอธิบายวิธีการที่มีประสิทธิภาพแบบ “O2O” และ “Omnichannel” ในการดึงดูดลูกค้าทางออนไลน์

O2O

“O2O” เป็นคำย่อของ “Online to Offline”เป็นมาตรการในการแนะนำสินค้าให้ลูกค้าจากร้านค้าออนไลน์สู่ร้านค้าที่มีหน้าร้านจริงลักษณะเฉพาะของ O2O คือ ลดขอบเขตระหว่างร้านออนไลน์และออฟไลน์สร้างกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน

ต้อไปนี้เป็นตัวอย่างเฉพาะบางส่วนของ O2O

การแจกคูปอง
แจกคูปองออนไลน์ (บนเว็บไซต์ อีเมล โซเชียลมีเดีย ฯลฯ) เพื่อกระตุ้นการใช้งาน โดยให้เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมซื้อสินค้าที่ร้านค้า

จองออนไลน์
การจองผลิตภัณฑ์และบริการสามารถทำทางออนไลน์และจัดส่งให้ โดยให้ลูกค้าไปรับสินค้าที่ร้านค้า

การบริการตามตำแหน่งที่ตั้ง (Location-based services)
บริการนี้ใช้ฟังก์ชั่น GPS ของสมาร์ทโฟนในการให้ข้อมูลร้านค้าและคูปองใกล้เคียง

การใช้ประโยชน์จากเพจรีวิวออนไลน์ (Utilizing online review sites)
ใช้เว็บเพจรีวิวให้คะแนนออนไลน์เพื่อเพิ่มชื่อเสียงให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทำให้ร้านค้าของคุณเป็นที่รู้จักและดึงดูดลูกค้าที่มีศักยภาพ

การบูรณาการระบบบัตรคะแนน (Integration of point card system)
เมื่อเข้าเยี่ยมชมร้านค้าหลังจากลงทะเบียนล่วงหน้าแล้ว สมาชิกจะได้รับคะแนนเหมือนกันเมื่อซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางออนไลน์หรือที่ร้าน สะสมคะแนนผ่านเว็บหรือแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซของร้าน

ช่องทางติดต่อต่างๆ

“Omni-channel” หมายถึงกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงช่องทางต่างๆ ทั้งหมด (ร้านค้า, เว็บไซต์, ไซต์อีคอมเมิร์ซ, บล็อก, โซเชียลมีเดีย ฯลฯ) เพื่อเพิ่มการติดต่อกับลูกค้าและนำเสนอการขายและการบริการที่สม่ำเสมอ

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเฉพาะบางส่วนของ Omnichannel:

การแบ่งปันสต๊อกสินค้าในร้านจริงและร้านออนไลน์
ระบบช่วยให้สามารถแบ่งปันสินค้าในคลังระหว่างหน้าร้านค้าและร้านค้าออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์
ช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้โดยไม่คำนึงถึงเวลาหรือสถานที่

การรับสินค้าที่ร้าน
อนุญาตให้ลูกค้าซื้อออนไลน์และมารับสินค้าที่ร้านได้ ช่วยประหยัดค่าขนส่งและยังช่วยกระตุ้นให้มีการซื้อสินค้าภายในร้านเพิ่มอีกด้วย

สั่งซื้อออนไลน์ที่หน้าร้านค้า
อนุญาตให้สั่งซื้อออนไลน์ในร้านค้าและจัดส่งสินค้าให้ถึงบ้าน รวมถึงให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์และขนาดที่ไม่มีขายภายในร้านได้

การบูรณาการข้อมูลลูกค้าออนไลน์และออฟไลน์
Combine online and in-store purchase history to deliver personalized marketing.
รวมประวัติการซื้อผ่านออนไลน์และในร้านค้าเพื่อส่งเสริมการขายได้ตรงความต้องการของแต่บุคคล

สรุป: การใช้มาตรการประเมินผลและการประยุกต์ใช้เว็บไซต์มีความจำเป็นต่อการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า

  • การเข้าชมร้านค้าเป็นหนึ่งใน KPI หลักสำหรับผู้ค้าปลีก
  • แคมเปญ โปรโมชั่น และ VMD เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมร้านค้า
  • ประยุกต์ใช้เว็บไซต์เพื่อดึงดูดลูกค้า

การเพิ่มจำนวนลูกค้าที่มาเยี่ยมชมร้านค้าของคุณถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการเพิ่มยอดขายหากต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้าที่มาเยี่ยมชมร้านค้าของคุณ ให้เริ่มต้นใช้มาตรการที่นำไปใช้ได้ง่าย เช่น แคมเปญและโปรโมชัน

ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องธรรมดาและวิธีการดึงดูดลูกค้าผ่านเว็บไซต์ก็มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ การใช้แนวทางต่างๆ เช่น O2O และ Omnichannel สามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าที่มาเยี่ยมชมร้านค้าของคุณได้ นอกจากนี้ การใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่จะเพิ่มอัตราการเยี่ยมชมเท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาที่ร้านได้อีก ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนและความถี่ในการเยี่ยมชมอีกด้วย

กุญแจสำคัญของความสำเร็จ คือ การปรับปรุงและดำเนินการตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง

Copied title and URL