หลายๆ คนคิดที่จะเปิดร้านค้าปลีก บางคนฝันที่จะมีร้านเป็นของของตัวเอง หรืออยากใช้ความรู้ที่ได้จากงานเพื่อมาเปิดร้านของตัวเองเมื่อพิจารณาเปิดร้านค้าปลีก มักเกิดความกังวลและคำถามว่าต้องเตรียมการอะไรบ้างและควรจัดสรรเงินทุนไว้เท่าใด
บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมการและคุณสมบัติที่จำเป็นในการเปิดร้านค้าปลีก
- อะไร คือ แนวทางทั่วไปในการเปิดธุรกิจค้าปลีก?
- 6 ขั้นตอนในการเปิดธุรกิจ
- ขั้นตอนที่ 1: ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งและวิเคราะห์พื้นที่
- ขั้นตอนที่ 2: ลงนามสัญญาเช่าทรัพย์สิน
- ขั้นตอนที่ 3: กำหนดแนวทางและเป้าหมายของร้าน
- ขั้นตอนที่ 4: การตกแต่งภายในภายนอกและการติดอุปกรณ์เพิ่มเติม
- ขั้นตอนที่ 5: จัดซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่ให้ราคาต้นทุนต่ำและตั้งราคาขายที่เหมาะสม
- ขั้นตอนที่ 6: ดำเนินการเปิดร้านค้า
- คุณสมบัติที่จำเป็นในการเปิดร้านค้าปลีก
- วางแผนดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการละเว้นขั้นตอนที่สำคัญใดๆ สำหรับการเตรียมเปิดร้านค้าปลีก
อะไร คือ แนวทางทั่วไปในการเปิดธุรกิจค้าปลีก?
ขั้นแรก เรามาทำความเข้าใจกระบวนการหรือแนวทางทั่วไปในการเปิดร้านค้าปลีกก่อนที่จะเริ่มเตรียมดำเนินการขั้นตอนที่จำเป็น
สิ่งแรกที่คุณควรทำเมื่อตัดสินใจจะเปิดร้านค้าปลีก คือ การเตรียมแผนธุรกิจที่ระบุว่าคุณจะดำเนินกิจการร้านค้าอย่างไรแผนธุรกิจมีประโยชน์ในการรักษาเสถียรภาพของกระแสเงินสดและในการพัฒนากลยุทธ์ร้านค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นเปิดร้านค้าปลีกและช่วยสร้างแนวทางในการดำเนินธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดีในการเขียนแผนธุรกิจค้าปลีกที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 9 ข้อ ดังนี้
1. บทสรุป (Executive Summary) – บอกถึงเป้าหมายของบริษัท ภารกิจ และทำไมธุรกิจค้าปลีกของคุณถึงจะประสบความสำเร็จ
2. ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ (Company Description) – เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจทั้งหมด บอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครอบคลุมและชัดเจน รวมถึงปัญหาที่กำลังเผชิญ วิธีการแก้ปัญหา กลุ่มลูกค้า และพนักงาน
3. การวิเคราะห์การตลาด (Market Analysis) – เป็นการอธิบายแนวโน้ม แผนที่วางไว้ คู่แข่งที่ประสบความสำเร็จขายสินค้าหรือมีกลยุทธ์การตลาดแนวไหน และอะไรคือจุดแกร่งที่จะทำให้คุณเอาชนะคู่แข่งได้
4. องค์กรและการบริหารจัดการ (Organisation and management) – ร่างประมาณว่าพนักงานของธุรกิจคุณมีใครและพนักงานเหล่านั้นมีประสบการณ์ในการขายสินค้าหรือบริหารร้านค้าปลีกมากน้อยแค่ไหน
5. ไลน์สินค้า (Product Line) – รวมสินค้าที่คุณจะขายเข้าไปในแผนธุรกิจด้วย เขียนอธิบายว่าทำไมสินค้าประเภทนี้ถึงเป็นที่ต้องการในท้องตลาด รวมถึงแสดงข้อมูลสินค้าที่คุณได้ศึกษามาด้วย
6.การตลาดและการขาย (Marketing and Sale) – อธิบายถึงกลยุทธ์ที่คุณจะใช้ในการหาลูกค้าและรักษาฐานลูกค้า
7. การกู้เงิน (Funding Requests) – หากคุณจำเป็นต้องกู้เงินธนาคารทำธุรกิจ ต้องเขียนอธิบายว่าคุณจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นทำอะไรบ้าง และวางแผนจะจ่ายคืนเงินกู้ยังไง
8. การประมาณทางการเงิน (Financial Projection) – แจงรายละเอียดว่าคุณมีแผนการยังไงที่จะทำให้ธุรกิจทำกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน คืออย่างน้อยต้องประมาณการเงินได้ในระยะเวลา 5 ปี
9. ภาคผนวก (Appendix) – เสริมรายละเอียดต่าง ๆ อาจจะเป็นเอกสารเพิ่มเติมอย่างรูปแบบสินค้า รูปภาพ เครดิตย้อนหลัง ประวัติการจ่ายหนี้ที่ดี และใบอนุญาตประกอบธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น
เตรียมแผนทั้งหมดนี้ให้ครอบคลุมในแผนธุรกิจของคุณ
- วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
- เงินทุนที่จำเป็นในการเปิดธุรกิจและวิธีการจัดหาเงินทุน
- การคาดการณ์รายรับและรายจ่ายในช่วง 3 ถึง 5 ปีข้างหน้า
การรวมรายการต่างๆ ไว้ในแผนธุรกิจของคุณถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการและกระแสเงินสดร้านค้าของคุณ
หากคุณไม่มีเงินทุนที่ครอบคลุมที่จำเป็นเพียงพอสำหรับการเปิดธุรกิจด้วยเงินทุนของคุณเอง คุณสามารถ “จัดหาเงินทุนจากสถาบันการเงิน” หรือ “ใช้เงินอุดหนุนและเงินช่วยเหลือโดยรัฐบาลกลางหรือท้องถิ่น”がตามหลักการแล้ว เงินทุนต่างๆจะมีข้อกำหนดและเงื่อนไขตามหน่วยงานนั้นๆ ควรเลือกขอเงินทุนอุดหนุนหรือเงินช่วยเหลือที่ไม่จำเป็นต้องชำระคืน
หากคุณกำลังพิจารณาในการเปิดร้าน ให้ดำเนินการค้นหาอาคารที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ แนะนำให้คุณเลือกอาคารพานิชย์ที่ตรงกับเงื่อนไขของธุรกิจคุณตามความเหมาะสมสำหรับร้านของคุณเอง และลงสำรวจพื้นที่วิเคราะห์ที่ตั้งของอาคารพานิชย์นั้นๆที่คุณสนใจก่อนตัดสินใจเลือกทำเลการตั้งร้าน
6 ขั้นตอนในการเปิดธุรกิจ
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการเปิดธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1: ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งและวิเคราะห์พื้นที่
การตลาดเชิงพื้นที่มีความจำเป็นต่อการดึงดูดลูกค้าและยอดขายให้กับธุรกิจในท้องถิ่น
เมื่อคุณตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งแล้ว ให้ดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่การค้า โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้
- สำรวจการจราจรในช่วงเวลาต่างๆ ของวันและในวันต่างๆ ของสัปดาห์และในตรวจสอบดูความแตกต่างของสภาพอากาศในพื้นที่เป้าหมาย
- ตรวจสอบการเดินทางเข้าถึงพื้นที่โดยการใช้รถใช้ถนนและระบบขนส่งสาธารณะ
- ตรวจสอบแนวโน้มการพัฒนาในภูมิภาค เช่น การเติบโตในอนาคตหรือการเสื่อมถอยในพื้นที่ที่ตั้งร้านค้า
- สังเกตผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเพื่อกำหนดลักษณะประชากรในพื้นที่
- ใช้ข้อมูลสาธารณะหรือข้อมูลทของบริษัทที่น่าเชื่อถือในการสำรวจประชากร
ขั้นตอนที่ 2: ลงนามสัญญาเช่าทรัพย์สิน
เมื่อคุณค้นหาสถานที่ตั้งอาคารพาณิชย์ได้ตรงตามความต้องการของคุณ เช่นค่าเช่า ทำเลที่ตั้ง และขนาดอาคาร เป็นต้น เมื่อคุณพร้อมคุณสามารถลงนามในสัญญาเช่าได้
ขั้นตอนการทำสัญญาเช่ามีดังนี้
- สอบถามข้อมูลและยื่นใบสมัครกับบริษัทอสังหาฯหรือเจ้าของอาคารพาณิชย์ จะเรียกว่า ผู้ให้เช่า เมื่อตกลงทำสัญญา (เจ้าของพื้นที่ย่อมต้องการความมั่นใจว่าผู้เช่าจะไม่หนีหายไปไหนจึงต้องมีค่ามัดจำขึ้นมา ซึ่งการชำระเงินมัดจำก่อนขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ให้เช่า)
- ตรวจรับห้องหรืออาคารก่อนเข้าอยู่ ปกติแล้วทุกพื้นที่เวลาเราตัดสินใจเช่าพื้นที่เขาจะมีเวลาให้เราเข้าไปตกแต่งก่อนประมาณ 30 วันนับจากวันที่เริ่มเซ็นสัญญา หรืออาจขึ้นอยู่กับการต่อรอง บางพื้นที่เขาอาจจะให้ 45 วัน บางพื้นที่ให้ 60 วัน เป็นไปได้ลองต่อรองระยะเวลาดูก่อน
- ตรวจสอบเอกสารสำคัญและเงื่อนไขในสัญญาเช่า ก่อนลงนามและประทับตรา
ในกรณีที่เช่า “ทรัพย์สินว่างเปล่า” แต่มีสิ่งของและอุปกรณ์อื่นใดที่ติดตั้งในร้านยังคงอยู่ครบถ้วน นอกเหนือจากข้อตกลงการเช่ากับเจ้าของร้านแล้ว จะต้องทำข้อตกลงเช่าหรือซื้อขายอุปกรณ์ตกแต่งภายในที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณเช่ากับคนที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นด้วย
เนื่องจากงานปรับปรุงจะดำเนินการหลังจากเช่าอาคารหรือทรัพย์สินแล้ว โปรดตรวจสอบข้อตกลงเพิ่มเติมอย่างละเอียดก่อนตกลงเช่า รวมถึงเงื่อนไขการก่อสร้างหรือตกแต่งเพิ่มเติมก่อนเซ็นสัญญา เมื่อเซ็นสัญญาเช่าทรัพย์สินแล้ว คุณจะถูกเรียกเก็บค่าเช่าประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งรวมถึงค่าบริการส่วนกลางและค่ามัดจำที่ต้องชำระล่วงหน้า และหากเป็นการซื้ออาคารพาณิชย์จะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการโอนอาคารเว้นแต่ว่าผู้ขายยอมเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนเอง
ขั้นตอนที่ 3: กำหนดแนวทางและเป้าหมายของร้าน
โดยพิจารณาจากลักษณะพื้นที่ที่จะเปิดร้านและประชากรในพื้นที่ท้องถิ่น โดยการกำหนดเป้าหมายในการวิเคราะห์พื้นที่การค้า การกำหนดแนวทางและเป้าหมายร้านของคุณจะทำให้การเปิดร้านมีประสิทธิผลมากขึ้น
- ต้องการขายสินค้าราคาแพงแต่คุณภาพดีให้กับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก
- ต้องการขายสินค้าอาหารที่มีขนาดใหญ่แต่ราคาไม่แพงให้กับกลุ่มครอบครัว
- ต้องการขายในพื้นที่อยู่อาศัยที่เงียบสงบ ให้เลือกใช้โทนสีและเสียงเพลงประกอบที่อ่อนและเบาสบาย
ดังนั้น ควรกำหนดแนวคิดของคุณให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุดให้เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นและกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 4: การตกแต่งภายในภายนอกและการติดอุปกรณ์เพิ่มเติม
ดำเนินการงานตกแต่งทั้งภายในและภายนอกเพื่อปรับปรุงร้านให้ตรงตามแนวคิดของคุณงานตกแต่งภายใน ได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ งานออกแบบผังพื้นที่ และงานรื้อถอนพื้นทางเดิน เปลี่ยนฝ้าเพดาน และรื้อถอนสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากร้าน ส่วนงานติดตั้งป้ายและงานผนังภายนอกเป็นงานภายนอก เมื่อจ้างบริษัทก่อสร้างหรือบริษัทออกแบบ เพื่อให้เตรียมออกแบบร้านให้คุณ ควรให้ข้อมูลแนวคิดของธุรกิจโดยละเอียด เช่น รูปภาพ และงบประมาณ เป็นต้น จากนั้นขอให้บริษัทจัดเตรียมออกแบบและประมาณการค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้ ให้จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเทคโนโลยีทางธุรกิจที่จำเป็นสำหรับร้านค้าปลีกด้วย
อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในร้าน เช่น เครื่องคิดเงิน ชั้นวางสินค้า ตู้โชว์ และรถเข็นสินค้า เลือกอุปกรณ์และเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อเสริมผลิตภัณฑ์ของคุณและปลอดภัยต่อการใช้งาน การเลือกสินค้าทางเว็บไซต์สั่งซื้อทางออนไลน์และจัดส่งของให้คุณทางไปรษณีย์จะช่วยให้คุณจัดหาอุปกรณ์ตกแต่งร้านทั้งหมดที่คุณต้องการเพื่อการเปิดร้านได้สะดวกเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจเปิดร้าน
ขั้นตอนที่ 5: จัดซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งที่ให้ราคาต้นทุนต่ำและตั้งราคาขายที่เหมาะสม
พิจารณาเลือกผลิตภัณฑ์และราคาที่จะนำมาวางจำหน่ายในร้าน และเลือกผู้ค้าส่งที่มีผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงหรือมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์และการบริหารจัดการข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีหลายวิธีในการค้นหาซัพพลายเออร์หรือผู้ค้า: ปรึกษากับสำนักงานที่ปรึกษาธุรกิจ เช่น หอการค้าและธนาคาร และรับคำแนะนำ ติดต่อสมาคมผู้ผลิต/ผู้ค้าส่ง หรือค้นหาทางอินเทอร์เน็ต หากต้องการให้มีอุปทานผลิตภัณฑ์คงที่ ขอแนะนำให้เลือกซัพพลายเออร์หลายรายแทนที่จะเลือกเพียงรายเดียว
หากคุณมีเงินทุนเพียงพอในการเริ่มต้นธุรกิจ เราขอแนะนำให้ใช้ระบบบริหารจัดการการขาย คุณจะมีระบบที่เชื่อมโยงยอดขายกับจำนวนสินค้าในสต๊อก การปรับจำนวนการซื้อก็จะสะดวกยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 6: ดำเนินการเปิดร้านค้า
เพื่อจัดระเบียบบุคลากรที่จำเป็นและบริหารร้านอย่างมีประสิทธิภาพ ให้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติงานจริงสำหรับร้านค้าปลีก ตัวอย่าง ได้แก่ “คู่มือการบริการลูกค้า” “คู่มือการควบคุมสินค้าคงคลัง” และ “คู่มือการแสดงสินค้า”
เจ้าของธุรกิจสามารถสร้างคู่มือการดำเนินงานของตนเองได้ แต่มีหลายประเด็นเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานและประสิทธิภาพที่คุณจะยังไม่รู้จนกว่าจะเริ่มต้นเปิดธุรกิจจริง ๆ นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณสอบถามที่ปรึกษามืออาชีพเกี่ยวกับคู่มือที่รวบรวมรายละเอียดการปรับปรุงประสิทธิภาพการเปิดร้านด้วย
คุณสมบัติที่จำเป็นในการเปิดร้านค้าปลีก
ศึกษาการจดทะเบียนพาณิชย์และการเสียภาษี
● การจดทะเบียนพาณิชย์
โดยการจดทะเบียนก็จะมีทั้งแบบบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว และแบบนิติบุคคล ที่เป็นแบบห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท โดยรายละเอียด เงื่อนไขและเอกสารที่ต้องเตรียม สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การจดทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา) ของเว็บ DBDซึ่งเป็นเว็บของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
● การเสีย “ภาษีเงินได้” ให้ “กรมสรรพากร”
หลังจากที่คุณจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ก็ถือว่าคุณได้แจ้งเรื่องให้ราชการทราบ ส่วนการจ่ายภาษีเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับรายได้ต่อปีของคุณ หลังจากที่ทำธุรกิจไปสักพักแล้ว ในอนาคตทางร้านก็ต้องมีการทำบัญชีและมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้ให้สรรพากร หากรายได้ต่อปีถึงเกณฑ์ ก็จะต้องทำการเสียภาษีให้เรียบร้อยหรือถ้าคุณไม่ยื่นด้วยตัวเอง ก็จะมีสรรพากรเข้ามาตรวจทีหลังและปรับย้อนหลังได้ อ่านทำความเข้าใจเรื่องภาษีในเว็บของกรมสรรพากรในลิ้งก์นี้ได้เลยค่ะ คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบการ
● ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีป้าย
นอกจากนี้ทางอบต.หรือเทศบาลก็จะมาเก็บภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ที่ร้านของคุณทุกปี ถ้าร้านของคุณมีป้ายหน้าร้าน ก็จะต้องเสียภาษีป้ายด้วย อ่านเพิ่มเติม ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่
- การขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตหรือ ขอขึ้นทะเบียน แต่ต้องผ่านการผลิตที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของ
(กระทรวงสาธารณสุข)
→เมื่อขายอาหารที่สามารถรับประทานได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มกรรมวิธีการปรุงหรือแปรรูปเรียบร้อยแล้ว เช่น กล่องอาหารกลางวัน อาหารปรุงสำเร็จ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เป็นต้น - ใบอนุญาตผู้ค้าของเก่า (ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้อง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตที่จะดำเนินการตามสังกัดกรมการปกครอง)
→เมื่อซื้อและขายสินค้ามือสอง เช่น ที่ร้านรีไซเคิลหรือร้านขายของมือสอง - ใบอนุญาตขายปลีกสุราทั่วไป (กรมสรรพสามิต)
→เมื่อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับผู้บริโภคในร้านค้าเป็นหลัก หรือให้กับผู้ให้บริการลูกค้าที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบาร์และร้านอาหาร (ไม่สามารถขายทางออนไลน์/ไม่รับจัดส่งทางไปรษณีย์ไทย)
อย่าลืมขอใบอนุญาตขายและใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องการขาย การขอใบอนุญาตอาจใช้เวลานานถึงสองเดือน โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอกสารการสมัครของคุณครบถ้วน
วางแผนดำเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการละเว้นขั้นตอนที่สำคัญใดๆ สำหรับการเตรียมเปิดร้านค้าปลีก
เมื่อเปิดร้านค้าปลีก มีหลายขั้นตอนที่มีความจำเป็นต้องทำ เช่น การสร้างแผนธุรกิจ การค้นหาทำเลที่ตั้งของอาคารพาณิชย์ การคำนวณต้นทุนที่จำเป็นสำหรับการเปิดร้าน และการระดมทุน เป็นต้น ทุกขั้นตอนล้วนมีความจำเป็น การเตรียมการและการละเว้นขั้นตอนใดๆ ก็ตามอาจทำให้คุณไม่สามารถเปิดธุรกิจได้อย่างราบรื่น โปรดตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ สำหรับการเปิดร้าน เช่น การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจและใบอนุญาตที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการขาย และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดร้านของคุณ