การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มคืออะไร มีความแตกต่าง จากการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่มอย่างไร มาเรียนรู้ไปด้วยกัน

วิธีการวิเคราะห์ / กรอบความคิด
This article can be read in about 13 minutes.

“การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม” คือ การวิเคราะห์ลูกค้าประเภทหนึ่ง
แม้ว่าคุณจะเคยได้ยินวิธีการวิเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักนี้มาบ้างแล้ว แต่หลายคนอาจไม่รู้เกี่ยวกับความหมายของการวิเคราะห์นี้จริงๆ

สิ่งที่ทำให้หลายๆ คนสับสน คือ ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและแบบไม่แบ่งกลุ่มซึ่งที่มีชื่อคล้ายกันและเราอาจได้ยินคนพูดอยู่บ่อยครั้งว่าพวกเขาไม่ทราบแน่ชัดว่าจะสามารถนำไปใช้งานกับสถานการณ์ไหนได้บ้าง

การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มเป็นวิธีการวิเคราะห์ที่ลดความซับซ้อนของข้อมูล และสามารถใช้เพื่องานการตลาดได้

บทความนี้จะอธิบายภาพรวมของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม ข้อดีและข้อเสีย ขั้นตอนหลัก และสิ่งที่ควรทราบ ทำความเข้าใจเนื้อหาเฉพาะและนำไปใช้ในกิจกรรมการตลาดในอนาคต

  1. การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มเป็นการวิเคราะห์การจัดกลุ่มประเภทหนึ่ง
    1. การวิเคราะห์คลัสเตอร์คืออะไร?
    2. ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม
    3. ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม
  2. ข้อดีและข้อเสียของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม
    1. ข้อดี คือ วิเคราะห์ได้ง่าย
    2. ข้อเสีย: “ความซับซ้อนของการวิเคราะห์”
  3. ขั้นตอนหลักของการวิเคราะห์คลัสเตอร์
    1. ขั้นตอนที่ 1: กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์
    2. ขั้นตอนที่ 2: เลือกวิธีระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม
    3. ขั้นตอนที่ 3: กำหนดเกี่ยวกับคำจำกัดความของความคล้ายคลึงกัน
    4. ขั้นตอนที่ 4: ตัดสินใจว่าจะแบ่งกลุ่มคลัสเตอร์อย่างไร
  4. สิ่งที่ควรทราบเมื่อดำเนินการวิเคราะห์คลัสเตอร์
    1. เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์คลัสเตอร์
    2. การนำความคิดเห็นส่วนตัวของนักวิเคราะห์มาผสมผสานกันเป็นเรื่องง่าย
    3. ต้องใช้ซอฟต์แวร์คำนวณขั้นสูง
  5. สรุป: ทำความเข้าใจการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและนำไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์งานการตลาด

การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มเป็นการวิเคราะห์การจัดกลุ่มประเภทหนึ่ง

การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มเป็นวิธีการหนึ่งภายใต้กรอบแนวคิดของ “การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม”
ในบทนี้ เราจะมาดูภาพรวมของ “การวิเคราะห์การจัดกลุ่ม” ก่อน จากนั้นจึงตรวจสอบความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่มเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์คลัสเตอร์คืออะไร?

คลัสเตอร์ มีความหมายว่า “กลุ่ม”
ตามชื่อ การวิเคราะห์คลัสเตอร์เป็นวิธีการวิเคราะห์ที่รวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่คล้ายกันจากกลุ่มหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง บางครั้งเรียกว่า “การจัดกลุ่ม” ซึ่งคำศัพท์เหล่านี้หมายถึงเทคนิคเดียวกัน
จุดประสงค์ของการวิเคราะห์คลัสเตอร์ คือการแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนให้กลายเป็นสิ่งที่ใช้งานง่ายขึ้นสำหรับการตลาดและการสร้างแบรนด์การวิเคราะห์คลัสเตอร์สามารถใช้กับข้อมูลต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะของลูกค้า และผลการสำรวจ เพื่อให้คุณสามารถได้้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย

ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม

ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม

ข้อดีและข้อเสียของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม

เราจะอธิบายข้อดีและข้อเสียของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม ทำความเข้าใจแต่ละแง่มุมและนำไปใช้ในงานการตลาดของคุณ

ข้อดี คือ วิเคราะห์ได้ง่าย

ข้อได้เปรียบที่เห็นเด่นชัดที่สุดของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม คือ ความง่ายในการเริ่มการวิเคราะห์โดยไม่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับจำนวนกลุ่ม
ข้อมูลจะถูกจัดกลุ่มตามลำดับของลักษณะที่คล้ายคลึงกันและรวมเข้าเป็นกลุ่มที่ใหญ่กว่าจากล่างขึ้นบน เหตุผลที่ทำให้กลุ่มนี้เรียบง่ายก็คือ ส่วนประกอบต่างๆ ของกลุ่มนั้นเข้าใจง่าย และสามารถแบ่งหรือรวมกลุ่มในภายหลังได้

เนื่องจากคุณสามารถตรวจสอบกระบวนการจับคู่คลัสเตอร์จากเดนโดรแกรมเอาต์พุตได้ คุณจึงสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับจำนวนการจัดกลุ่มในภายหลังได้และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ คุณลักษณะอีกประการหนึ่งคือ สามารถเข้าใจจุดประสงค์ในการจำแนกประเภทของนักวิเคราะห์ได้จากกระบวนการรวมกลุ่ม

ข้อเสีย: “ความซับซ้อนของการวิเคราะห์”

ข้อเสียของการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม คือ ความซับซ้อนของการวิเคราะห์
วิธีนี้ต้องใช้การคำนวณมากขึ้นตามจำนวนวัตถุที่ต้องการวิเคราะห์ ดังนั้น<ขั้นตอนหลักของการวิเคราะห์คลัสเตอร์


เราจะอธิบายขั้นตอนหลักของการวิเคราะห์คลัสเตอร์โดยย่อใน 4 ขั้นตอนต่อไปนี้

  • 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์
  • 2. เลือกระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่ แบ่งกลุ่ม
  • 3. กำหนดเกี่ยวกับคำจำกัดความของความคล้ายคลึงกัน
  • 4. ตัดสินใจว่าจะรวมกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างไร

ขั้นตอนที่ 1: กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์

สิ่งแรกที่คุณต้องทำ คือกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์คลัสเตอร์ตัดสินใจว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่คุณกำหนดไว้ ตัวอย่างทั่วไปของเป้าหมายการวิเคราะห์ ได้แก่ คุณลักษณะของลูกค้า การวิจัยตลาด และแนวโน้มการซื้อ

ขั้นตอนที่ 2: เลือกวิธีระหว่างการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม

  • ข้อมูลน้อยกว่า 100 ตัวอย่าง : การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม
  • ข้อมูล 100-300 ตัวอย่าง : การผสมผสานการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและแบบไม่แบ่งกลุ่ม
  • ข้อมูลมากกว่า 300 ตัวอย่าง: การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม
  • เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่มีประโยชน์จากการวิเคราะห์คลัสเตอร์ สิ่งสำคัญ คือ การเลือกวิธีการวิเคราะห์ที่ตรงกับปริมาณข้อมูล

    ขั้นตอนที่ 3: กำหนดเกี่ยวกับคำจำกัดความของความคล้ายคลึงกัน

    จากนั้นกำหนดว่าจะใช้สิ่งใดในการตัดสินความคล้ายคลึงกันระหว่างข้อมูล
    มีวิธีการวัดระยะห่างแบบทั่วไป 3 วิธีสำหรับการจัดกลุ่มแบบแบ่งกลุ่ม สิ่งสำคัญ คือ ต้องเข้าใจแต่ละแนวคิดและเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่ตรงกับวิธีการวิเคราะห์และลักษณะของข้อมูล

    วิธีวัดระยะทางแบบ ยูคลิเดียน (Euclidean distance)

    ใช้เพื่อสังเกตความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร ยิ่งความสัมพันธ์มาก ระยะห่างที่แสดงก็จะยิ่งสั้นลงเท่านั้น
    (แสดงเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างจุดสองจุด วิธีคำนวณระยะห่างที่ง่ายที่สุด)

    วิธีวัดระยะทางแบบแมนฮัตตัน (Manhattan distance)

    เนื่องจากเส้นทางแต่ละเส้นถนนถูกจัดวางเป็นรูปแบบตาราง ระยะทางที่สั้นที่สุดสำหรับแต่ละเส้นทางจึงเท่ากัน เรียกอีกอย่างว่า “เรขาคณิตของแท็กซี่”

    วิธีวัดระยะทางแบบเชบีเชฟ (Chebyshev distance)

    พิจารณาตัวแปรที่มีมิติเดียวกันกับมิติที่แตกต่างกันและพิจารณาระยะทางสูงสุดระหว่างจุดสองจุด ตัวอย่างเช่น หาก 0 คือจุดฐานและจุดหนึ่งอยู่เหนือ 0 จำนวน 3 ช่องว่างและอีกจุดหนึ่งอยู่ห่าง 0 ทางซ้ายมือ จำนวน 4 ช่องว่าง ค่าที่มากกว่าจะถูกนำมาใช้ ดังนั้นระยะห่างระหว่างสองจุดจะเท่ากับ 4

    ขั้นตอนที่ 4: ตัดสินใจว่าจะแบ่งกลุ่มคลัสเตอร์อย่างไร

    สุดท้ายนี้ ให้ตัดสินใจว่าจะจัดรวมคลัสเตอร์อย่างไร

    วิธีการรวมข้อมูล 4 วิธีต่อไปนี้ เหมาะสำหรับการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่ม
    สามารถเพิ่มความแม่นยำได้ โดยการเลือกใช้วิธีรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับเนื้อหาการวิเคราะห์

    • วิธีของ วอร์ด (Ward’s method): วิธีการที่ลดผลรวมของกำลังสองให้น้อยที่สุดเมื่อรวมกลุ่มข้อมูล
    • วิธีรวมระยะทางไกลที่สุด: วิธีการรวมข้อมูลจากระยะทางไกลที่สุดก่อน
    • วิธีรวมระยะทางสั้นที่สุด: วิธีการรวมข้อมูลโดยเริ่มจากระยะทางที่ใกล้ที่สุด
    • วิธีหาผลรวมค่าเฉลี่ยของกลุ่มข้อมูล: วิธีการที่คำนวณค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมดและรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นการรวมระยะทางกลุ่มข้อมูล

    วิธีของวอร์ด (Ward’s method)

    วิธีลดผลรวมของกำลังสองให้เหลือน้อยที่สุดเมื่อรวมกลุ่มข้อมูล

    วิธีหาระยะทางไกลที่สุด (Longest distance method)

    วิธีการผสานข้อมูลโดยเริ่มจากระยะไกลที่สุด

    วิธีหาระยะทางที่สั้นที่สุด

    วิธีการผสานข้อมูลโดยเริ่มจากระยะทางที่ใกล้ที่สุด

    วิธีหาผลรวมค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (Group average method)

    วิธีการคำนวณค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมดและรวมระยะทางของกลุ่มข้อมูลเข้าไว้ด้วยกัน

    สิ่งที่ควรทราบเมื่อดำเนินการวิเคราะห์คลัสเตอร์

    ในแต่ละหัวข้อ เราจะมุ่งเน้นไปที่ 3 เประเด็น ที่ควรคำนึงถึงเมื่อดำเนินการวิเคราะห์คลัสเตอร์

    เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์คลัสเตอร์

    สิ่งที่สามารถทำได้ด้วยการวิเคราะห์คลัสเตอร์ คือ การจำแนกเป็นกลุ่มๆ
    ข้อมูลสามารถนำไปใช้ในการการอนุมานกฎเกณฑ์และความสัมพันธ์จากผลการวิเคราะห์เท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วย

    การนำความคิดเห็นส่วนตัวของนักวิเคราะห์มาผสมผสานกันเป็นเรื่องง่าย

    การวิเคราะห์คลัสเตอร์มักจะขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัวของนักวิเคราะห์ จงสังเกตว่าจำนวนคลัสเตอร์จะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะคลัสเตอร์ที่ไม่ได้แบ่งกลุ่ม ดังนั้นจึงสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า
    สิ่งสำคัญ คือ อย่าใช้แค่ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์คลัสเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องใช้ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์อื่นๆ ด้วย

    ต้องใช้ซอฟต์แวร์คำนวณขั้นสูง

    การวิเคราะห์คลัสเตอร์ เป็นการคำนวณที่ซับซ้อนซ้ำๆ กัน ดังนั้นจึงไม่สามารถดำเนินการโดยใช้ Excel เพียงอย่างเดียวได้
    คุณจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเสริม Excel “Excel Statistics”
    สำหรับการวิเคราะห์ขั้นสูง เราขอแนะนำให้ใช้ซอฟต์แวร์ทางสถิติ เช่น “R” “SPSS” และ “JMP”

    สรุป: ทำความเข้าใจการวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มและนำไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์งานการตลาด

    • การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มเป็นประเภทหนึ่งของการวิเคราะห์คลัสเตอร์
    • แม้ว่าจะวิเคราะห์ได้ง่ายแต่ไม่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก
    • สิ่งสำคัญ คือ ต้องสร้างกลุ่มข้อมูลที่ตรงกับปริมาณข้อมูล ลักษณะเฉพาะ และวิธีการวิเคราะห์

    ในบรรดาการวิเคราะห์คลัสเตอร์ที่รวบรวมและจัดประเภทข้อมูลที่คล้ายกันจากกลุ่มนั้น วิธีการที่ค่อยๆ จัดระเบียบข้อมูลเป็นลำดับชั้น เรียกว่า “การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบ่งกลุ่ม” และวิธีการที่กำหนดจำนวนคลัสเตอร์ไว้ล่วงหน้าและจัดประเภทไว้ เรียกว่า “การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบไม่แบ่งกลุ่ม”

    การวิเคราะห์คลัสเตอร์แบบแบ่งกลุ่มช่วยให้วิเคราะห์ได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดคลัสเตอร์ล่วงหน้า แต่ไม่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก เนื่องจากการคำนวณจะซับซ้อนเมื่อมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น

    วิธีการที่เหมาะสมในการสร้างคลัสเตอร์จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูล คุณลักษณะ และวิธีการวิเคราะห์ ดังนั้น ให้เลือกวิธีการที่เหมาะกับสถานการณ์ของคุณและนำไปใช้เพื่องานการตลาด

    Copied title and URL